Ads

วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การแยกประเภทสารเคมี (Classification of chemicals)

สารเคมีสามารถแบ่งได้เป็นหลายประเภท แต่เมื่อพิจารณาถึงอันตรายต่อสุขภาพ สามารถแบ่งประเภทของสารเคมี ได้เป็น

1.สารเคมีที่ไวไฟ (Flammable and combustible)
วัตถุไวไฟ (Flammable substances) หมายถึงวัตถุที่ง่ายต่อการติดไฟ และเผาไหม้ในที่ที่มีอากาศ ของเหลวไวไฟ (Flammable liquid) หมายถึง ของเหลวที่มีจุดวาบไฟ ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 37.8 0ซ. ส่วนของเหลวติดไฟได้ (Combustible liquid) หมายถึงของเหลวที่มีจุดวาบไฟสูงกว่า หรือเท่ากับ 37.8 0ซ. บางกรณีมีการแยกประเภทสารไวไฟ ออกเป็นของแข็ง และ ก๊าซ ตัวอย่างของก๊าซไวไฟ เช่น Acetylene, Ethylene oxide และ Hydrogen เป็นต้น
ในกลุ่มของสารเคมีที่ไวไฟ ยังสามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ได้แก่
1.1 สารเคมีที่ระเบิดได้ (Explosive)
สารเคมีที่ก่อให้เกิดการระเบิดเมื่อได้รับความร้อน แสง หรือตัวเร่ง (catalyst) ได้ที่พบในห้องปฏิบัติการ ได้แก่ สารประกอบในกลุ่ม nitrate, chlorate, perchlorates, picrate นอกจากนั้นสารประกอบของโลหะเช่น ผงแมกนีเซียม หรือผงสังกะสี เมื่อผสมกับอากาศ ก็สามารถระเบิดได้เช่นกัน

1.2 สารเคมีที่ติดไฟเองได้ (Pyrophorics)
สารเคมีกลุ่ม Pyrophorics ตามมาตรฐานของ US OSHA (United States Office of Occupation Safety and Administation)ได้แก่สารเคมีที่สามารถติดไฟ(ignition)ได้เองที่อุณหภูมิเท่ากับหรือต่ำกว่า 54.4 0ซ. สารในกลุ่มนี้มักทำปฏิกิริยารุนแรงกับน้ำ (Water reative) และติดไฟเมื่อสัมผัสกับน้ำ หรืออากาศชื้น ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจะเร็วหรือช้าขึ้นกับชนิดของสารเคมี ตัวอย่างสารเคมีประเภทนี้ได้แก่ calcium, magnesium สารเคมีบางตัวสามารถติดไฟขึ้นเองได้ เมื่ออุณหภูมิภายนอกถึงจุดสันดาปของสารเคมีนั้น โดยไม่ต้องอาศัยอุปกรณ์อื่นช่วย สารเคมีเหล่านี้ได้แก่ sodium, potassium, phosphorus เป็นต้น

1.3 สารที่ไวต่อการทำปฏิกิริยากับน้ำ (Water reactive substances)
สารเคมีที่ไวต่อปฏิกิริยากับน้ำ เกิดปฏิกิริยารุนแรง โดยเฉพาะเมื่อมีน้ำอยู่จำกัด สารเคมีในกลุ่มนี้ เช่น สารAlkali และ สาร Alkali earth เช่น potassium, calcium สารในกลุ่ม Anhydrous metal halides เช่น Aluminum bromide, Germanium chloride เป็นต้น

1.4 สารเคมีที่เกิดเปอร์ออกไซด์ (Peroxidizable substances)
สารเคมีในกลุ่มนี้ ทำปฏิกิริยาอย่างช้าๆกับออกซิเจนในอากาศ โดยมีแสง และความร้อนเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เกิดเป็นสารเปอร์ออกไซด์ ซึ่งสามารถก่อให้เกิดการระเบิดรุนแรงได้ การนำสารเคมีในกลุ่มนี้มาใช้ต้องแน่ใจว่าปราศจากสารเปอร์ออกไซด์ บางห้องปฏิบัติการกำหนดระยะเวลาจัดเก็บสารเคมีในกลุ่มนี้เป็นรายสารเคมี รายละเอียดสารเคมีในกลุ่มที่เกิดเปอร์ออกไซด์
และระยะเวลาจัดเก็บในห้องปฏิบัติการ สามารถดูรายละเอียด จากตารางผนวกที่ 2 และ 3

2. สารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อน (Corrosives)
สารในกลุ่มนี้ ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ทำลายเยื่อบุผิวหนัง และเยื่อบุตา สารในกลุ่มนี้ที่สำคัญ ได้แก่ กรดแก่, ด่างแก่, Dehydrating agent, และ Oxidizing agent
2.1 กรดแก่
กรดแก่ หรือ กรดเข้มข้นทุกชนิด สามารถก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง และ เยื่อบุตา เฉพาะอย่างยิ่งกรดไนตริค กรดโครมิค และ กรดไฮโดรฟลูออริค ทั้งนี้การเคลื่อนย้ายกรดเหล่านี้ควรใส่ถุงมือยาง ผ้ายางกันเปื้อน รวมทั้งควรใส่หน้ากากป้องกันไอระเหย

2.2 ด่างแก่
ด่างแก่ เช่น sodium hydroxide, potassium hydroxide, ammonia สารเหล่านี้ มีฤทธิ์ระคายเคืองตาสูง ดังนั้นการเคลื่อนย้ายสารเคมีในกลุ่มนี้ต้องใส่อุปกรณ์ป้องกันเช่นเดียวกันกับการเคลื่อนย้ายกรดแก่


2.3 สารเคมีที่ดูดน้ำ (Dehydrating agent)
สารเคมีในกลุ่มนี้ที่สำคัญ ได้แก่ กรดกำมะถัน (sulfuric acid), sodium hydroxide, Phosphorus pentoxide และ calcium oxide สารเหล่านี้หากสัมผัสผิวหนังก่อให้เกิดอาการไหม้ของผิวหนังได้

2.4 สารออกซิไดซ์ (Oxidizing agent)
สารออกซิไดซ์ (Oxidizing agent) ได้แก่ สารที่เป็นตัวรับอีเล็คตรอน (Electron acceptor)ในปฏิกิริยา หรืออีกความหมายหนึ่งเป็นตัวให้ออกซิเจน สารเคมีในกลุ่มนี้ เช่น สารประกอบHypochlorite, permanganate และ เปอร์ออกไซด์ เป็นต้น เนื่องจากสารเคมีในกลุ่มนี้เป็นตัวให้ออกซิเจน จึงสามารถเป็นตัวเร่งให้เกิดการสันดาป หรือเผาไหม้ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น