Ads

วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ป้ายกำกับสารเคมี

บริษัทผู้ผลิตสารเคมีมักติดป้ายกำกับสารเคมี เพื่อแสดงถึงลักษณะของอันตรายไว้ที่ฉลากของภาชนะบรรจุสารเคมี ซึ่งมักประกอบไปด้วยสัญลักษณ์ต่างๆกันออกไป ระบบของป้ายกำกับสารเคมีที่ควรรู้จักมีดังต่อไปนี้

NFPA (National Fire Protection Agency) ได้กำหนดป้ายกำกับสารเคมีเป็น รูปเพชร ภายในแบ่งเป็น 4 สี ได้แก่ สีแดง สีน้ำเงิน สีเหลือง และ สีขาว (Special hazard) โดยมี รายละเอียด คือ W หมายถึง สารเคมีที่ทำปฏิกิริยากับน้ำ (Water reactive); Ox หมายถึง Oxidizer; Cor หมายถึง สารเคมีที่มีฤทธิ์ Corrosive นอกจากนี้ ระบบ NFPA ยังแสดงตัวเลข 0-4 เพื่อแสดง ระดับความรุนแรงอีกด้วย





นอกจากระบบ NFPA ป้ายสัญลักษณ์แบ่งประเภทสารอันตรายยังมีระบบอื่นๆที่เป็นที่นิยมใช้ เช่น HMIG (Hazardous material identification guide) เป็นป้ายแสดงอันตรายของสารเคมี ซึ่งพัฒนาขึ้นมาโดยบริษัทเอกชน Lab safety Supply, Inc. และระบบ HMIS (Hazardous material information system) ซึ่งพัฒนาโดย NPCA( National Paint and Coating Association) ทั้งระบบ HMIG และ HMIS มีการใช้สี 4 สี โดยที่สามสีแรก ได้แก่ น้ำเงิน แดง และเหลือง เป็นการระบุถึงอันตรายของสารเคมี ที่เกิดต่อสุขภาพ การติดไฟ และ ปฏิกิริยาของสารเคมี โดยมีระดับคะแนนตั้งแต่ 0-4 (คะแนน 0 หมายถึง สารเคมีนั้นไม่ก่อให้เกิดอันตราย ขณะที่หมายเลข 4 แสดงความอันตรายสูงสุด) ขณะที่สีสุดท้ายได้แก่ สีขาว จะแสดงถึง เครื่องป้องกันส่วนบุคคล ข้อแตกต่างของ HMIG และ HMIS ที่สำคัญได้แก่ ในระบบ ในช่องสีน้ำเงิน ได้มีการเพิ่มช่องขึ้น หากในช่องที่เพิ่มขึ้นนี้มีเครื่องหมายดอกจัน แสดงว่าสารเคมีนั้นส่งมีผลในระยะยาว (Chronic or long term effect)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น