Ads

วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การจัดการของเสียสารเคมีบางชนิด

กรด และ ด่าง (Acid/Base)

ของเสียที่เป็นกรด และด่างสามารถกำจัดความเป็นพิษโดยทำให้เป็นกลาง (Neutralization) ก่อนปล่อยทิ้ง ข้อควรระวัง การกำจัดของเสียประเภทนี้ควรทำในตู้ดูดควันที่มีกระจกกั้น รวมทั้งควรสวมเครื่องป้องกันที่เหมาะสม เช่น ถุงมือ เสื้อกาว แว่นตาเพื่อป้องกันสารเคมีกระเด็นเข้าตา

Acetonitrile


Acetonitrile เป็นสารทำละลายนิยมใช้ในห้องปฏิบัติการ HPLC เช่น ในการตรวจสารปฏิชีวนะตกค้างในเนื้อกุ้ง เป็นต้น จัดเป็นสารที่อันตรายและติดไฟได้ (Flammable) Acetonitrile สามารถเป็นอันตรายต่อร่างกาย จากการสัมผัสทางผิวหนัง การเข้าสู่ร่างกายทางช่องปาก และจากการหายใจ นอกจากนี้ร่างกายยังสามารถเปลี่ยน Acetonitrile เป็น Cyanide ได้
การกำจัดการปนเปื้อนของ Acetonitrile

ควรทำในตู้ดูดควัน เพื่อไล่แอมโมเนียที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยา
ขั้นตอนปฏิกิริยา



ขั้นตอน
เจือจางสารละลาย Acetonitrile ด้วยน้ำให้มีความเข้มข้นต่ำกว่า 10% (V/V)
เติมสารละลาย 10 M Sodium hydroxide ในสัดส่วน 2.5 mol Sodium hydroxide ต่อ 1 mol Acetonitrile คนให้เข้ากัน
ปรับอุณหภูมิสารละลายให้เป็น 80 C นาน 70 นาที
ทิ้งให้เย็น ปรับให้เป็นกลาง pH 5-9 โดยใช้กรดเกลือ (Hydro chloric acid )
ผลท้ายสุดของปฏิกิริยาได้เป็นกรดน้ำส้มเจือจาง และเกลือ สามารถทิ้งได้ตามปกติ

Ethidium bromide
Ethidium bromide (EB) เป็นสารที่ก่อให้เกิดความผิดปกติของพันธุกรรม (Mutagen) ใช้ในห้องปฏิบัติการตรวจโรคไวรัสกุ้งทะเล โดยวิธี PCR โดยปกติใช้ EB ในการเตรียม Electrophoresis gel ซึ่งในกรณีนี้ EB ที่ใช้มีปริมาณน้อย และไม่ถือว่าเป็นของเสียอันตราย ยกเว้นกรณีการใช้ในความเข้มข้นสูง โดยทั่วไปถือหลักว่าหากมีปริมาณน้อยกว่า 0.1% สามารถทิ้งได้ หากปริมาณมากกว่า หรือ เท่ากับ 0.1 % ต้องกำจัดโดยการเผา (Incineration)
การกำจัดการปนเปื้อนของ EB ในสารละลาย
เดิมนิยมใช้คลอร็อก Clorox (Sodium hypochlorite, 5%) ปัจจุบันมีรายงานว่าวิธีการดังกล่าวไม่สามารถลดพิษได้ดีเท่าที่ควร จึงเปลี่ยนมาใช้วิธี S&S Extractor และการใช้สารเคมีชนิดอื่นทดแทน
การกำจัดการปนเปื้อนโดยใช้ S&S Extractor
S&S Extractor หรือ Schleicher and Schuell Filter Kit เป็นอุปกรณ์การกรอง ซึ่งมีไส้กรองเป็นถ่านกัมมันต์ (Activated charcoal) เพื่อดูดซับ EB อย่างไรก็ตามแม้ว่าสามารถทิ้งสารละลายที่ผ่านการกรองได้ทันที แต่การกำจัดไส้กรองที่มีการปนเปื้อนของ EB จำเป็นต้องนำไปกำจัดโดยการเผา




การกำจัดการปนเปื้อนโดยใช้สารเคมี
ทำในตู้ดูดควัน ควรใส่ถุงมือยาง เสื้อ และแว่นตา
การเตรียมสารเคมี Decontamination Solution
เติม 20 มล. Hypophosphorus acid 50% ลงใน สารละลายที่มี Sodium nitrate 4.2 กรัม
ในน้ำกลั่น 300 มล.
คนสารละลายให้เข้ากัน
ควรเตรียมสารละลายน้ำทุกครั้งก่อนใช้
การกำจัดการปนเปื้อน (decontamination) ของ EB ในสารละลาย
สำหรับสารละลาย ที่มีความเข้มข้นของ EB มากกว่า 0.5 มก./มล. ให้เจือจางลงให้มีความเข้มข้นต่ำกว่า 0.5มก./มล.
เติมสารละลาย Decontamination Solution ลงไปจนได้ความเข้มข้น 25 % ( ยกตัวอย่างเติมสารละลาย Decontamination Solution 25 มล. ในสารละลาย EB 75 มล.)
คนให้เข้ากัน แล้วทิ้งไว้นาน 20 ชั่วโมง
ตรวจว่ายังมี คงเหลือหรือไม่ โดยใช้ Fluorescence ถ้าพบว่ายังมีสารตกค้างให้เริ่มขั้นตอนใหม่
หากพบว่าไม่มีสารตกค้าง ให้ทำให้เป็นกลางโดยใส่ Sodium bicarbonate จากนั้นสามารถทิ้งของเสียนี้ได้โดยถือเป็นของเสียไม่อันตราย(Non-hazardous aqueous waste)

การกำจัดการปนเปื้อน (decontamination) ของ EB ตามพื้นผิวภาชนะ
จุ่มกระดาษเช็ดมือลงใน สารละลาย Decontamination Solution แล้วนำไปเช็ดบริเวณภาชนะ หรือพื้นผิวที่มีการปนเปื้อน จากนั้นเช็ดออกด้วยกระดาษเช็ดมือชุบน้ำ ไม่ต่ำกว่า 5 ครั้ง (เปลี่ยนกระดาษเช็ดมือทุกครั้ง)
นำกระดาษเช็ดมือทั้งหมดไปแช่ในสารละลาย Decontamination Solution นาน 1 ชั่วโมง
ตรวจว่ายังมี คงเหลือหรือไม่ โดยใช้ Fluorescence ถ้าพบว่ายังมีสารตกค้างให้เริ่มขั้นตอนใหม่
หากพบว่าไม่มีสารตกค้าง ให้ทำให้เป็นกลางโดยใส่ Sodium bicarbonate จากนั้นสามารถทิ้งของเสียนี้ได้โดยถือเป็น ของเสียไม่อันตราย(Non-hazardous aqueous waste)

Potassium dichromate
Potassium dichromate (K2Cr2O7) ถือเป็นสาร Oxidizing agent และ US EPA (United States Environmental protection agency) ถือเป็นของเสียที่เป็นโลหะหนัก ผงฝุ่นของ Potassium dichromate ถือเป็นสารก่อมะเร็ง (Carcinogen) ในการกำจัดใช้การตกตะกอนโครเมียม ออกจากสารละลาย อย่างไรก็ตามตะกอนโครเมียมที่เกิดขึ้นจำเป็นต้องส่งไปกำจัดโดยหน่วยงาน หรือ บริษัทเอกชนที่รับกำจัดของเสียที่เป็นโลหะหนักโดยเฉพาะ

Formaldehyde
Formaldehyde และ Formalin (37-40 % Formaldehyde ใน 5-12 % Methanol) เป็นสารที่นิยมใช้ในการเก็บรักษาตัวอย่าง และใช้ในการฆ่าเชื้อ หน่วยงาน EPA จัด Formaldehyde เป็นสารพิษ เป็นสารที่ติดไฟ และมีฤทธิ์กัดกร่อน (Corrosive) เป็นพิษในระดับปานกลาง หากสูดดม หรือสัมผัสทางผิวหนัง
การกำจัดการปนเปื้อนของ Formaldehyde และ Formalin
โดยการใช้ผลิตภัณฑ์ชื่อ ALDEX ซึ่งสามารถปรับสภาพ Formaldehyde และ Formalin ให้อยู่ในสภาพไม่เป็นพิษได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น