Ads

วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สารเคมีที่เชื่อว่าสามารถก่อให้เกิดเปอร์ออกไซด์

Chemicals that may form peroxides but cannot clearly be placed in sections 1-3

Acrolein
Allyl ether
Allyl ethyl ether
Allyl phenyl ether
p-(n-Amyloxy) benzoyl chloride
n-Amyl ether
Benzyl n-butyl ether
Benzyl ether
Benzyl ethyl ether
Benzyl methyl ether
Benzyl 1-napthyl ether
1,2-Bis(2-chloroethoxy) ethane
Bis(2 ethoxyethyl) ether
Bis(2-(methoxyethoxy) ethyl ether
Bis(2-chloroethyl) ether
Bis(2-ethoxyethyl) adipate
Bis(2-ethoxyethyl) phthalate
Bis(2-methoxyethyl) carbonate
Bis(2-methoxyethyl) ether
Bis(2-methoxyethyl) phthalate

Bis(2-methoxymethyl) adipate
Bis(2-n-butoxyethyl) phthalate
Bis(2-phenoxyethyl) ether
Bis(4-chlorobuyl) ether
Bis(chloromethyl) ether
2-Bromomethyl ethyl ether
Beta-Bromophenetole
o-Bromophenetole
p-Bromophenetole
3-Bromopropyl phenyl ether
1,3-Butadiyne
Buten-3-yne
Tert-Butyl ethyl ether
Tert-Butyl methyl ether
n-Butyl phenyl ether
n-Butyl vinyl ether
Chloroacetaldehyde diethylacetal
2-Chlorobutadiene
1-(2-Chloroethoxy)-2-phenoxyethane
Chloroethylene
Chloromethyl methyl ether
b-Chlorophenetole
o-Chlorophenetole
p-Chlorophenetole
Cyclooctene
Cyclopropyl methyl ether
Diallyl ether
p-Di-n-butoxybenzene
1,2-Dibenzyloxyethane
p-Dibenzyloxybenzene
1,2-Dichloroethyl ethyl ether
2,4-Dichlorophenetole
Diethoxymethane
2,2-Diethoxypropane
Diethyl ethoxymethylenemalonate
Diethyl fumerate
Diethyl acetal
Diethylketene
m,o,p-Diethoxybenzene
1,2-Diethoxyethane
Dimethoxymethane
1,1-Dimethoxyethane
Dimethylketene
3,3-Dimethoxypropene
2,4-Dinitrophenetole
3,3-Dioxepane
Di(1-propynl) ether
Di(2-propynl) ether
Di-n-propoxynethane
1-2-Epoxy-3-isopropoxy propane -
1,2-Epoxy-3-phenoxy propane
p-Ethoxyacetophenone
1-(2-Ethoxyethoxy) ethyl acetate
2-Ethoxyethyl acetate
(2-Ethoxyethyl)-o-benzoyl benzoate
3-Ethoxyopropionitrile
2-Ethylacryladehyde oxime
2-Ethylbutanol
Ethyl beta-ethoxypropionate
2-Ethylhexanal
Ethyl vinyl ether
Furan
2,5-Hexadiyn-1-ol
4,5-Hexadien-2-yn-1-ol
n-Hexyl ether
p,o-Iodophenetole
Isoamyl benzyl ether
Isoamyl ether
Isobutyl vinyl ether
Isophorone
beta-isopropoxypropionitrile
Isopropyl 2,4,5-trichloro-phenoxyacetaet
Limonene
1,5-p-Methadiene
Methyl-p-(n-amyloxy) benzoate
4-Methyl-2-pentanone
n-Methylpenetole
n-Methylpenetole
2-Methyltetrahydrofuran
3-Methoxy-1-butyl acetate
3-Methoxyehtyl acetate
2-Methoxyethyl vinyl ether
Methoxy-1,3,5,7-cycloocta tetraene
beta-Methoxyproponitrile
m-Nitrophenetole
1-Octene
Oxybis(2-ethyl acetate)
Oxybis(2-ethyl benzoate)
beta, beta-Oxydipropionitrile
1-Pentene
Phenoxyacetyl chloride
alpha-Phenoxypropionyl chloride
Phenyl o-propyl ether
p-Phenylphenetone
n-Propyl ether
n-Propyl isopropyl ether
Sodium 8,11,14-eicosatetraenoate
Sodium ethoxyacetylide
Tetrahydropyran
Triethylene glycol diacetate
Triethylene glycol dipropionate -
1,3,3-Trimethoxypropene
1,1,2,3-Tetrachloro-1,3-buta diene -
4-Vinyl cyclohexene
Vinylene carbonate
Vinylidene chloride

สารเคมีที่สามารถก่อให้เกิดเปอร์ออกไซด์

Chemical that may autopolymerize as result of peroxide accumulation

Acrylic acid
Acrylonitrile
Butadiene
Chloroprene
Chlorotrifluoroethylene
Methyl methacrylate
Styrene
Tetrafluoroethylene
Vinyl acetate
Vinylacetylene
Vinyl chloride
Vinylpyrdine
Vinyladiene chloride

สารเคมีที่ก่อให้เกิดการระเบิดจากเปอร์ออกไซด์เมื่อถึงระดับความเข้มข้น

Chemicals that form explosive levels of peroxides on concentration. Note: may occur through evaporation

Acetal
Actealdehyde
Benzyl alcohol
2-Butanol
Cumene
Cyclohexanol
2-Cyclohexen-1-ol
Cyclohexene
Decahydronaphthalene
Diacetylene
Dicyclopentadine
Diethyl ether
Diethylene glycol dimethyl ether (diglyme)
Dioxanes
Ethylene glycol dimethyl ether (glyme)
4-Heptanol
2-Hexanol
Methylacetylene
3-Methyl-1-butanol
Methylcyclopentane
Methyl isobutyl ketone
4-Methyl-2-pentanol
2-pentanol
4-Penten-1-ol
1-Phenylethanol
2-Phenylethanol
2-Propanol
Tetrahydrofuran
Tetrahydronaphthalene
Vinyl ethers
Other secondary alcohols

สารเคมีที่ก่อให้เกิดเปอร์ออกไซด์และเกิดการระเบิดจากโดยไม่คำนึงถึงระดับความเข้มข้น

Chemicals that form explosive levels of peroxides without concentration

Butadine
Choloprene
Divinylacetylene
Isopropyl ether
Tetrafluoroethylene
Vinylidene chloride

การจัดการของเสียสารเคมีบางชนิด

กรด และ ด่าง (Acid/Base)

ของเสียที่เป็นกรด และด่างสามารถกำจัดความเป็นพิษโดยทำให้เป็นกลาง (Neutralization) ก่อนปล่อยทิ้ง ข้อควรระวัง การกำจัดของเสียประเภทนี้ควรทำในตู้ดูดควันที่มีกระจกกั้น รวมทั้งควรสวมเครื่องป้องกันที่เหมาะสม เช่น ถุงมือ เสื้อกาว แว่นตาเพื่อป้องกันสารเคมีกระเด็นเข้าตา

Acetonitrile


Acetonitrile เป็นสารทำละลายนิยมใช้ในห้องปฏิบัติการ HPLC เช่น ในการตรวจสารปฏิชีวนะตกค้างในเนื้อกุ้ง เป็นต้น จัดเป็นสารที่อันตรายและติดไฟได้ (Flammable) Acetonitrile สามารถเป็นอันตรายต่อร่างกาย จากการสัมผัสทางผิวหนัง การเข้าสู่ร่างกายทางช่องปาก และจากการหายใจ นอกจากนี้ร่างกายยังสามารถเปลี่ยน Acetonitrile เป็น Cyanide ได้
การกำจัดการปนเปื้อนของ Acetonitrile

ควรทำในตู้ดูดควัน เพื่อไล่แอมโมเนียที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยา
ขั้นตอนปฏิกิริยา



ขั้นตอน
เจือจางสารละลาย Acetonitrile ด้วยน้ำให้มีความเข้มข้นต่ำกว่า 10% (V/V)
เติมสารละลาย 10 M Sodium hydroxide ในสัดส่วน 2.5 mol Sodium hydroxide ต่อ 1 mol Acetonitrile คนให้เข้ากัน
ปรับอุณหภูมิสารละลายให้เป็น 80 C นาน 70 นาที
ทิ้งให้เย็น ปรับให้เป็นกลาง pH 5-9 โดยใช้กรดเกลือ (Hydro chloric acid )
ผลท้ายสุดของปฏิกิริยาได้เป็นกรดน้ำส้มเจือจาง และเกลือ สามารถทิ้งได้ตามปกติ

Ethidium bromide
Ethidium bromide (EB) เป็นสารที่ก่อให้เกิดความผิดปกติของพันธุกรรม (Mutagen) ใช้ในห้องปฏิบัติการตรวจโรคไวรัสกุ้งทะเล โดยวิธี PCR โดยปกติใช้ EB ในการเตรียม Electrophoresis gel ซึ่งในกรณีนี้ EB ที่ใช้มีปริมาณน้อย และไม่ถือว่าเป็นของเสียอันตราย ยกเว้นกรณีการใช้ในความเข้มข้นสูง โดยทั่วไปถือหลักว่าหากมีปริมาณน้อยกว่า 0.1% สามารถทิ้งได้ หากปริมาณมากกว่า หรือ เท่ากับ 0.1 % ต้องกำจัดโดยการเผา (Incineration)
การกำจัดการปนเปื้อนของ EB ในสารละลาย
เดิมนิยมใช้คลอร็อก Clorox (Sodium hypochlorite, 5%) ปัจจุบันมีรายงานว่าวิธีการดังกล่าวไม่สามารถลดพิษได้ดีเท่าที่ควร จึงเปลี่ยนมาใช้วิธี S&S Extractor และการใช้สารเคมีชนิดอื่นทดแทน
การกำจัดการปนเปื้อนโดยใช้ S&S Extractor
S&S Extractor หรือ Schleicher and Schuell Filter Kit เป็นอุปกรณ์การกรอง ซึ่งมีไส้กรองเป็นถ่านกัมมันต์ (Activated charcoal) เพื่อดูดซับ EB อย่างไรก็ตามแม้ว่าสามารถทิ้งสารละลายที่ผ่านการกรองได้ทันที แต่การกำจัดไส้กรองที่มีการปนเปื้อนของ EB จำเป็นต้องนำไปกำจัดโดยการเผา




การกำจัดการปนเปื้อนโดยใช้สารเคมี
ทำในตู้ดูดควัน ควรใส่ถุงมือยาง เสื้อ และแว่นตา
การเตรียมสารเคมี Decontamination Solution
เติม 20 มล. Hypophosphorus acid 50% ลงใน สารละลายที่มี Sodium nitrate 4.2 กรัม
ในน้ำกลั่น 300 มล.
คนสารละลายให้เข้ากัน
ควรเตรียมสารละลายน้ำทุกครั้งก่อนใช้
การกำจัดการปนเปื้อน (decontamination) ของ EB ในสารละลาย
สำหรับสารละลาย ที่มีความเข้มข้นของ EB มากกว่า 0.5 มก./มล. ให้เจือจางลงให้มีความเข้มข้นต่ำกว่า 0.5มก./มล.
เติมสารละลาย Decontamination Solution ลงไปจนได้ความเข้มข้น 25 % ( ยกตัวอย่างเติมสารละลาย Decontamination Solution 25 มล. ในสารละลาย EB 75 มล.)
คนให้เข้ากัน แล้วทิ้งไว้นาน 20 ชั่วโมง
ตรวจว่ายังมี คงเหลือหรือไม่ โดยใช้ Fluorescence ถ้าพบว่ายังมีสารตกค้างให้เริ่มขั้นตอนใหม่
หากพบว่าไม่มีสารตกค้าง ให้ทำให้เป็นกลางโดยใส่ Sodium bicarbonate จากนั้นสามารถทิ้งของเสียนี้ได้โดยถือเป็นของเสียไม่อันตราย(Non-hazardous aqueous waste)

การกำจัดการปนเปื้อน (decontamination) ของ EB ตามพื้นผิวภาชนะ
จุ่มกระดาษเช็ดมือลงใน สารละลาย Decontamination Solution แล้วนำไปเช็ดบริเวณภาชนะ หรือพื้นผิวที่มีการปนเปื้อน จากนั้นเช็ดออกด้วยกระดาษเช็ดมือชุบน้ำ ไม่ต่ำกว่า 5 ครั้ง (เปลี่ยนกระดาษเช็ดมือทุกครั้ง)
นำกระดาษเช็ดมือทั้งหมดไปแช่ในสารละลาย Decontamination Solution นาน 1 ชั่วโมง
ตรวจว่ายังมี คงเหลือหรือไม่ โดยใช้ Fluorescence ถ้าพบว่ายังมีสารตกค้างให้เริ่มขั้นตอนใหม่
หากพบว่าไม่มีสารตกค้าง ให้ทำให้เป็นกลางโดยใส่ Sodium bicarbonate จากนั้นสามารถทิ้งของเสียนี้ได้โดยถือเป็น ของเสียไม่อันตราย(Non-hazardous aqueous waste)

Potassium dichromate
Potassium dichromate (K2Cr2O7) ถือเป็นสาร Oxidizing agent และ US EPA (United States Environmental protection agency) ถือเป็นของเสียที่เป็นโลหะหนัก ผงฝุ่นของ Potassium dichromate ถือเป็นสารก่อมะเร็ง (Carcinogen) ในการกำจัดใช้การตกตะกอนโครเมียม ออกจากสารละลาย อย่างไรก็ตามตะกอนโครเมียมที่เกิดขึ้นจำเป็นต้องส่งไปกำจัดโดยหน่วยงาน หรือ บริษัทเอกชนที่รับกำจัดของเสียที่เป็นโลหะหนักโดยเฉพาะ

Formaldehyde
Formaldehyde และ Formalin (37-40 % Formaldehyde ใน 5-12 % Methanol) เป็นสารที่นิยมใช้ในการเก็บรักษาตัวอย่าง และใช้ในการฆ่าเชื้อ หน่วยงาน EPA จัด Formaldehyde เป็นสารพิษ เป็นสารที่ติดไฟ และมีฤทธิ์กัดกร่อน (Corrosive) เป็นพิษในระดับปานกลาง หากสูดดม หรือสัมผัสทางผิวหนัง
การกำจัดการปนเปื้อนของ Formaldehyde และ Formalin
โดยการใช้ผลิตภัณฑ์ชื่อ ALDEX ซึ่งสามารถปรับสภาพ Formaldehyde และ Formalin ให้อยู่ในสภาพไม่เป็นพิษได้

การจัดเก็บของเสีย

ของเสียอันตรายแต่ละประเภทควรทำการเก็บในขวดแก้วแยกจากกัน แต่ถ้าของเสียที่มีส่วนประกอบเป็นน้ำ ควรเก็บไว้ในขวดพลาสติก ชนิด Polyethylene (สุทธิเวช,2547) ไม่ใช้ขวดโลหะในการเก็บของเสียที่เป็นกรด หรือ ด่าง ภาชนะที่บรรจุของเสียควรมีจุกปิดแน่น ปิดฝาให้สนิท หลีกเลี่ยงการใช้ฝาปิดที่ไม่คงทน เช่น จุกคอร์ก หรือ แผ่นพาราฟิล์ม ไม่ควรใส่ของเสียในภาชนะจนเต็ม เพื่อป้องกันการขยายตัวของของเสีย ภาชนะที่ใช้บรรจุของเสียควรมีฉลากระบุชนิดของของเสีย พร้อมทั้งระบุวันที่เก็บของเสีย จากนั้นนำไปเก็บในสถานที่ที่จัดไว้ เพื่อรอการกำจัดต่อไป ทั้งนี้ สุทธิเวช (2547) ได้เสนอผังการกำจัดของเสียอันตรายไว้ดังนี้

ข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดการหกรั่วไหล(Spill) ของสารเคมีภายในห้องปฏิบัติการ

อุปกรณ์ป้องกันที่ใช้ในเมื่อต้องทำความสะอาดสารเคมีหกรั่วไหล
1.แว่นตาป้องกันสารเคมี (Safety glasses)
2.เสื้อกาว หรือผ้ายางกันเปื้อน
3.ถุงมือชนิดทนสารเคมี
4.รองเท้า ควรเป็นรองเท้าชนิดหุ้มส้น ไม่ควรใส่รองเท้าแตะ
5.อุปกรณ์ช่วยหายใจ กรณีที่สารเคมีที่หกราดก่อให้เกิดก๊าซพิษ จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจในการเข้าไปทำความสะอาด
6.อุปกรณ์ทำความสะอาด เช่น ไม้ถูพื้น ฟองน้ำ กระป๋องน้ำ

สารเคมีที่นิยมใช้ทำความสะอาด เมื่อเกิดการหกรั่วไหล(Spill) ของสารเคมี

Calcium bentonite ใช้ได้กับสารเคมีส่วนใหญ่ยกเว้น Hydro fluoric acid
Sodium bisulfate , Monosodium phosphate ใช้กับสารเคมีที่เป็นด่าง
Sodium bicarbonate, Sodium carbonate, Calcium carbonateใช้กับสารเคมีที่เป็นกรด
ถ่านกัมมันต์ (Activated carbon) สามารถใช้กับสารเคมีในกลุ่มที่เป็นตัวทำละลาย
Sodium thiosulfate ใช้กับสารเคมีกลุ่มไซยาไนท์ (Cyanides)

ของเสียอันตราย (Hazardous waste)

ของเสียจากห้องปฏิบัติการที่ถือว่าเป็นของเสียอันตราย ขึ้นอยู่ชนิดของสารเคมีที่นำมาใช้ ซึ่งโดยทั่วไปของเสียอันตรายมักมีลักษณะเป็นของเสียที่ติดไฟง่าย (Ignitable waste) หรือมีฤทธิ์กัดกร่อน (Corrosive waste) หรือ ของเสียที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเคมี (Reactive waste) เช่น ก่อให้เกิดการระเบิด เป็นต้น หรือของเสียจากสารเคมีที่เป็นพิษ (Toxic waste)

ของเสียไม่อันตราย(Non-hazardous waste)

อย่างไรก็ตามยังมีของเสียจากสารเคมีอีกหลายชนิดไม่ถูกจัดว่าเป็นของเสียอันตราย (Non-hazardous waste) ซึ่งได้แก่ของเสียที่เกิดจากสารเคมีที่ไม่ก่อให้เกิดให้เกิดมะเร็ง และเป็นสารเคมีที่มีค่า Oral rat LD50 toxicity สูงกว่า 500 มก./กก ซึ่งของเสียที่เกิดขึ้นจากสารเหล่านี้ หากมีปริมาณไม่มากนัก สามารถทิ้งได้โดยไม่ต้องผ่านการบำบัดแต่อย่างใด รายชื่อสารเคมีที่ไม่ถูกจัดว่าเป็นของเสียอันตราย ดูจากตารางที่ 11

ตารางที่ 11 รายชื่อของเสียไม่อันตราย(Non-hazardous waste)

Agar
Albumen
Aluminum oxide
Aluminum
Aluminum
Amini acids
Ammonium phosphate
Ammonium lactate
Ammonium sulfamate
Ammoniumsulfate
Ammonium carbonate
Ammonium chloride
Ammonium bicarbonate
Ammonium acetate
Ammonium molybdate
Ascorbic acid
Beef extract
Benzoic acid
Blood agar base
Boric acid
Brain heart infusion
Brillant blue
Brom phenol blue
Broth nutrient
Buffer solution
Calcium floride
Calcium oxide
Calcium sulfate
Calcium lactate
Calcium chloride
Calcium citrate
Calcium phosphate
Calcium carbonate
Camphor
Casamino acid
Cellulase
Cerelose (Glucose)
Charcol , animal
Chloresterol
Chromatographic absorbent
Citric acid
Cobalt oxide
Copper oxide
Crystal violet
Cupric acetate
Methylene blue
Molybdic acid
Dextrose
Diethylene glycol
Exchange resin
Extract, malt
Extract, yeast
Ferric sulfate
Ferric nitrate
Ferric chloride
Ferrous chloride
Ferrous ammonium sulfate
Galactose
Glucose
Glutamic acid
Graphite
Gum arabic
Gum gualac
Hecadecane
Hematoxylin
Hemo-de
Iron oxide
Kaolin
Kodak stop bath
Lactic acid
Laryl sulfate
Lithium sulfate
Lithium chloride
Lithium carbonate
Lithmus mild
Lyson
Magnesium chloride
Magnesium citrate
Magnesium borate
Magnesium carbonate
Magnesium phosphate
Magnesium lactate
Magnesium oxide
Magnesium sulfate
Malic acid
Manganese sulfate
Manganese chloride
Manganese dioxide
Manganese acetate
Mannose
Methyl red
Methyl salicylate
Sodium tartrate
Sodium tungstate
Nitictinic acid
Oleic acid
Orcinol
Pepsin
Petrolatum
Potassium bitartrate
Potassium bisulfate
Phosphotungstic acid
Phthalic acid
Potassium bicarbonate
Potassium citrate
Potassium bromate
Potassium acetate
Potassium carbonate
Potassium bromide
Potassium phosphate
Potassium lactate
Potassium sodium tartate
Potassium iodide
Potassium sulfocyanate
Potassium sulfite
Potassium sulfate
Riboflavis
Salicylic acid
Sodium lactate
Sodium iodide
Sodium dodecyl sulfate
Sodium phosphate
Sodium formate
Sodium salicylate
Sodium sulfate
Sodium succinate
Sodium silicate
Sodium citrate
Sodium chloride
Sodium benzoate
Sodium ammonium phosphate
Sodium acetate
Sodium bicarbonate
Sodium bisulfate
Sodium bromide
Sodium borate
Sodium sulfite
Sodium thiosulfate
Sodium thioglycollate
Stearic acid
Strontium phosphate
Strontium sulfate
Strontium carbonate
Succinic acid
Sugars
Sulfur
Tartaric acid
Thymol
Tin oxide
Trypticase
Urea
Zinc oxide

ที่มา: Office of safety and environmental health hazardous materials management, Auburn university (1997)

การตรวจสุขภาพประจำปี

ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีอันตราย ควรได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี หรือได้รับการตรวจสุขภาพจากแพทย์โดยทันที เมื่อมีอาการผิดปกติ เกิดขึ้นกับร่างกาย โดยเชื่อว่าอาจมีสาเหตุเกิดจากการได้รับสารเคมี

การจัดให้มีการอบรมเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย

ผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการที่มีสารเคมีอันตราย ควรได้รับการฝึกอบรมในหัวข้อที่เกี่ยวของกับอันตราย และการป้องกันตนเอง เช่น
1.การจัดการสารเคมีในห้องปฏิบัติการ
2.สารก่อมะเร็ง และการดำเนินงาน
3.ข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์
ผลการอบรมของผู้ปฏิบัติงานควรทำการจัดเก็บเอกสาร เพื่อสะดวกต่อการตรวจสอบภายหลัง

อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลในห้องปฏิบัติการ (Personal protective equipment) หรือ PPE

อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลในห้องปฏิบัติการ ประกอบไปด้วยอุปกรณ์เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดกับลูกตา (Eye protection), เครื่องป้องกันหน้า เสื้อ รองเท้า ถุงมือ และหน้ากากกันสารพิษ เป็นต้น การใช้อุปกรณ์เหล่านี้ควรใช้ควบคู่ไปกับการจัดการและมาตรการด้านความปลอดภัยอื่นๆในห้องปฏิบัติการ เนื่องจากไม่มีอุปกรณ์ใดที่สามารถป้องกันอันตรายได้ 100 %

อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่อาจเกิดกับลูกตา (Eye protection)

อุปกรณ์เหล่านี้ประกอบ ไปด้วยแว่นตาประเภทต่างๆ (Glasses, goggles ,shield) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการใช้เพื่อป้องกันอันตรายในระดับที่แตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตามควรมีการทำความสะอาด และตรวจสอบอุปกรณ์เหล่านี้อย่างสม่ำเสมอ

บางห้องปฏิบัติการกำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานต้องใส่แว่นตาตลอดเวลา ยกเว้นหากมีการเทสารเคมีต้องเปลี่ยนมาใช้ goggles



เสื้อกาว (Laboratory coat)


เสื้อกาว ใช้สวมทับชุดปกติระหว่างปฏิบัติงาน เพื่อป้องกันการปนเปื้อน จากฝุ่น ผง ตลอดจนการหก กระเซ็นของสารเคมี เสื้อกาวควรใช้เนื้อผ้าที่เป็นผ้าฝ้าย หรือทำจากใยสังเคราะห์ประเภท Tyvek หรือ Nomex ไม่ควรใช้วัสดุประเภท Rayon หรือ Polyester เนื่องจากเป็นวัสดุที่ติดไฟง่าย ซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้สวมใส่ ควรได้มีการทำความสะอาดเสื้อกาวอย่างสม่ำเสมอ และควรถอดเสื้อกาวออกทุกครั้งเมื่อออกจากห้องปฏิบัติการเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของสารเคมี



รองเท้า

ควรสวมรองเท้าตลอดเวลาที่ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ รองเท้าที่ใช้สวมใส่ในห้องปฏิบัติการ ควรเป็นรองเท้าที่ปกปิดนิ้วเท้า อย่างน้อยด้านบนของรองเท้าควรทำจากหนังสัตว์ หรือ วัสดุประเภท Polymeric เพื่อป้องกันเท้ากรณีเกิดการหก กระเซ็นของสารเคมี ทั้งนี้ไม่ควรใส่รองเท้าแตะ รองเท้าผ้า หรือรองเท้าส้นสูง

ถุงมือ

ถุงมือที่ใช้ในห้องปฏิบัติการแบ่งได้เป็นหลายประเภท การจะเลือกใช้ถุงมือประเภทใด ขึ้นอยู่กับชนิด และประเภทของสารเคมีที่จะต้องปฏิบัติงานด้วย หลีกเลี่ยงการใช้ถุงมือกันความร้อนหรือความเย็นที่ทำจากวัสดุ Asbestos เนื่องจากเป็นวัสดุที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง (carcinogen) ถุงมือที่ใช้กันสารเคมี ควรทำจากยางธรรมชาติ หรือ วัสดุประเภท Neoprene, Polyvinyl chloride, Nitrile Butyl ถุงมือที่ใช้กับงานทางชีววิทยามักทำจาก Vinyl หรือ Latex อย่างไรก็ตามหลักในทางปฏิบัติที่สำคัญ ก่อนใช้ถุงมือทุกครั้งควรตรวจสภาพของถุงมือก่อนใช้ นอกจากนี้เมื่อเลิกใช้ ก่อนที่จะถอดถุงมือออกควรล้างมือ ถอดถุงมือทุกครั้งเมื่อออกจากห้องปฏิบัติการ และไม่ควรไปจับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ลูกบิดประตู โทรศัพท์ ปากกา ขณะที่ยังสวมใส่ถุงมือ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสารเคมีไปยังอุปกรณ์เหล่านั้น

อุปกรณ์ช่วยหายใจ และหน้ากากป้องกันไอระเหย (Respirator and face mask)

อุปกรณ์ช่วยหายใจ และหน้ากากป้องกันไอระเหย เป็นอุปกรณ์ใช้เมื่อต้องปฏิบัติงานกับสารเคมี ที่มีไอ เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น สารละลายแอมโมเนีย สารละลายฟอร์มาลิน เป็นต้น

อุปกรณ์จำเป็นเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

1.ระบบระบายอากาศ (Ventilation)

ห้องปฏิบัติการที่มีการใช้สารเคมีควรมีการระบายอากาศที่ดี การระบายอากาศในห้องปฏิบัติการ โดยทั่วไปไม่ควรน้อยกว่า 6 เท่าของขนาดห้อง ต่อชั่วโมง

2.ตู้ดูดควัน (Fume hood)

การปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีอันตราย ต้องทำในตู้ดูดควันเท่านั้น ตู้ดูดควัน ต้องสามารถดูดอากาศได้ไม่น้อยกว่า 80-120 ฟุต /นาที เมื่อฝาตู้ (Sash) เปิดที่ระดับ 18 นิ้ว

การใช้ตู้ดูดควันควรมีข้อพึงปฏิบัติ ดังนี้
1. ระหว่างปฏิบัติงาน ฝาตู้ดูดควัน (Sash) ต้องเปิดไม่เกิน 18 นิ้ว
2. อุปกรณ์ สารเคมีที่ใช้ปฏิบัติงานในตู้ดูดควัน ควรอยู่ห่างจากขอบฝาตู้ เข้าไปด้านในอย่างน้อย 6 นิ้ว
3. ควรเปิดพัดลมของตู้ดูดควันให้ทำงานตลอดเวลาที่มีสารเคมีอยู่ภายในตู้ดูดควัน
4. ไม่ควรใช้ตู้ดูดควันเป็นที่เก็บสารเคมี



3. ตู้เก็บสารละลายไวไฟ (Flammable liquid storage)

สารเคมีที่ใช้เป็นตัวทำละลาย เช่น Acetone, ether, alcohol รวมทั้งกรด Glacial acetic acid ส่วนใหญ่มักเป็นสารไวไฟ ควรจัดเก็บในที่ห่างจากประกายไฟ รวมทั้งควรแยกเก็บจากสารเคมีอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารเคมีในกลุ่มที่เป็น oxidizer อุปกรณ์ที่ใช้เก็บสารเคมีในกลุ่มนี้ได้แก่ ตู้เก็บสารละลายไวไฟ ในส่วนสารเคมีที่ง่ายต่อการเกิดระเบิดควรเก็บในตู้ แต่แยกให้อยู่บริเวณนอกอาคาร



4.อ่างล้างตา และที่ล้างตัวฉุกเฉิน (Emergency eyewash fountain and safety shower)

อ่างล้างตา และที่ล้างตัวฉุกเฉินเป็นอุปกรณ์จำเป็นสำหรับทุกห้องปฏิบัติการ ใช้ในกรณีเกิดอุบัติเหตุสารเคมีอันตรายหกราดตัว หรือกระเด็นเข้าตา ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต หรือ ทุพลภาพต่อผู้ปฏิบัติงานได้ สถานที่ติดตั้ง อ่างล้างตา และที่ล้างตัว ควรอยู่ในระยะห่างไม่เกิน 10 วินาที จากจุดปฏิบัติงาน ไม่ควรวางสิ่งของกีดขวางเส้นทาง เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก ควรใช้ระยะเวลาการล้างตา หรือล้างตัวไม่ต่ำกว่า 15 นาที เพื่อให้แน่ใจว่าสารเคมีได้ถูกชะล้างจนหมด



5.อ่างล้างอุปกรณ์ (Laboratory sink)

เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ ต้องล้างมือ ด้วยสบู่และน้ำสะอาดทุกครั้งภายหลังจากการถอดถุงมือ และเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน รวมทั้งเมื่อผิวหนังสัมผัสกับสารเคมี อ่างล้างมือยังใช้ในการล้างอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการที่แปดเปื้อนสารเคมีอีกด้วย


การจัดการสารเคมีเฉพาะเรื่อง

1.การจัดการสารเคมีที่เป็นสารพิษ (Toxic chemicals)

การพิจารณาระดับความเป็นพิษของสารเคมีอาจพิจารณาจากค่า TLV(Threshold limit values) หรือ PEL( Permissible exposure limits) ซึ่งกำหนดระดับความเข้มข้นของสารเคมีสูงสุดที่มีได้ในอากาศ โดยปกติสารเคมีถูกจัดเป็นสารพิษ (Toxic chemicals)เมื่อมีค่า TLV หรือ PEL ต่ำกว่า 50 ppm นอกจากนี้ยังสามารถพิจารณาความเป็นพิษของสารเคมีจากค่า LD50(Lethal dose) หรือ LC50(Lethal concentration) โดยที่ LD50เป็นการระบุความเข้มข้นของสารเคมีที่ให้สัตว์ทดลองตายลง 50 % โดยสัตว์ทดลองได้รับสารเคมีนั้นโดยการกิน การฉีด หรือการดูดซึม(Absorption) หรือ การหายใจ ขณะที่ LC50 เป็นการระบุความเข้มข้นของสารเคมีที่ให้สัตว์ทดลองตายโดยการหายใจเท่านั้น ปกติค่าเหล่านี้จะมีระบุอยู่ในข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์ (MSDS) ของสารเคมีนั้นๆ



2.การจัดการสารเคมีไวไฟ (Flammable chemicals)

สารเคมีไวไฟหมายถึงสารเคมีที่มีจุดวาบไฟ (Flash point) ที่อุณหภูมิต่ำกว่ากว่า 93.3 0ซ. ถือเป็นสารเสี่ยงต่อการติดไฟ และอาจก่อให้เกิดความเสียหายจากเพลิงไหม้ได้ การจัดเก็บสารเคมีไวไฟควรเก็บในตู้เก็บสารเคมีสำหรับสารเคมีไวไฟเท่านั้น ควรเปิดตู้เมื่อจำเป็นเท่านั้น การปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีไวไฟ ต้องทำในตู้ดูดควันเท่านั้น หลีกเลี่ยงอุปกรณ์ที่ก่อให้เกิดประกายไฟ



3.การจัดการสารเคมีที่ไวต่อปฏิกิริยาเคมี (Reactive chemicals)

สารเคมีที่ไวต่อปฏิกิริยาเคมี ได้แก่ สารจำพวก Oxidizer, Organic peroxide และสารที่ระเบิดได้ (Explosive) การเคลื่อนย้ายสารเหล่านี้ต้องทำด้วยความระมัดระวัง ควรเก็บแยกจากสารประเภทอื่น นอกจากนี้หลีกเลี่ยงการผสมสารเหล่านี้ เข้ากับสารเคมีตัวอื่นโดยไม่จำเป็น การปฏิบัติงานกับสารในกลุ่มนี้ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่เหมาะสม

4.การจัดการสารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อน และอันตรายต่อการสัมผัส (Corrosive chemicals and contact hazard chemicals)

สารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อน ในที่นี้หมายถึงสารเคมีที่มีผลทำลายหรือเปลี่ยนแปลงเซลล์สิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ยังหมายรวมถึงสารเคมีที่สามารถกัดกร่อนโลหะอีกด้วยการปฏิบัติงานกับสารในกลุ่มนี้ควรทำในตู้ดูดควัน รวมทั้งควรใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่เหมาะสม

5.การจัดการสารที่ก่อมะเร็ง (Carcinogens)

ข้อมูลเกี่ยวกับสารก่อมะเร็ง สามารถสืบค้นได้จากหน่วยงานที่ศึกษา และทำวิจัยเกี่ยวกับมะเร็ง ที่สำคัญ ได้แก่ IARC (The International Agency for Research on Cancer) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้องค์กรอนามัยโลก ( World Health Organization) ทั้งนี้ IARC ได้แบ่งสารก่อมะเร็งออกเป็นหลายหมวดหมู่ ขึ้นอยู่กับความสามารถก่อมะเร็งของสารนั้นๆ รายชื่อสารเคมีที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง ซึ่งสามารถตรวจค้นได้ที่ http://www.iarc.fr นอกจากนี้อาจสืบค้นสารก่อมะเร็งได้จาก http://www.cdc.gov/niosh/npotocca.html ซึ่งเป็นเว็บไซด์ของสถาบันความปลอดภัยในอาชีพและสุขภาพแห่งชาติ (National Institute for Occupational Safety and Health) หรือ NIOSH หน่วยงานภายใต้กรมสุขภาพและบริการ (Department of Health and Human Service) ประเทศสหรัฐอเมริกา



6.การจัดการท่อบรรจุก๊าซ (Compressed gas cylinders)

ห้องปฏิบัติการที่มีการใช้ท่อบรรจุก๊าซ ควรมีการระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากอันตรายซึ่งอาจเกิดได้จากตัวก๊าซเอง ก๊าซบางตัวอาจติดไฟง่าย บางตัวก่อให้เกิดการระเบิด นอกจากนี้การบรรจุก๊าซไว้ในท่อความดันสูง ก็เป็นอันตรายเนื่องจากแรงดันของก๊าซภายในท่อ หากเกิดการเสียหายบริเวณวาล์วเปิดปิด แรงดันก๊าซที่พุ่งออกมาทำให้ท่อบรรจุก๊าซเปรียบได้กับท่อจรวดทีเดียว จำเป็นต้องมีการป้องกันการล้ม หรือ กระแทก โดยการผูกคล้องด้วยโซ่รัดกับฝาผนัง การเคลื่อนย้ายท่อบรรจุก๊าซ ควรปิดฝาหุ้มวาล์วก่อนทุกครั้ง ควรใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมในการเคลื่อนย้าย เช่น รถเข็น ไม่ควรใช้มือยกบริเวณวาล์วเพื่อป้องกันการเสียหายของวาล์ว

ป้ายกำกับสารเคมีตามระบบ HAZCHEM

แผ่นป้ายที่มีสัญลักษณ์ของรหัสสารเคมีแฮสเคม เป็นที่นิยมใช้ในประเทศอังกฤษ เพื่อใช้ในการขนส่งสารเคมีอันตราย ป้ายดังกล่าวเป็นข้อเสนอแนะในกรณีฉุกเฉิน เตือนให้ทราบ ถึงขนาดความรุนแรง ของสารเคมีอันตรายนั้นๆ สำหรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น การหก รั่วไหลของสารเคมี หรือกรณีการเกิดไฟไหม้ ณ บริเวณที่ทำการเก็บสารเคมี จำเป็นต้องจัดเตรียมถังดับเพลิง และอุปกรณ์ สำหรับดูดซับสารเคมี และสารที่ใช้เพื่อทำลายฤทธิ์ หรือปรับสภาพของสารเคมี ที่เก็บหก หรือรั่วไหลไว้ให้พร้อม และถูกประเภท รวมถึงชุดป้องกัน และอุปกรณ์ช่วยเหลือต่างๆ ในบริเวณที่จัดเก็บสารเคมีต่างๆ เหล่านั้น

ในรหัส HAZCHEM ตัวเลข 1-4 บอกให้ทราบถึงวิธีการดับไฟ ที่เหมาะกับสารเคมีนั้นๆ ขณะที่ตัวอักษรภาษาอังกฤษ แสดงถึงระดับความรุนแรง เครื่องป้องกัน และวิธีการทำความสะอาด กรณีเกิดหกรั่วไหล



ป้ายกำกับสารเคมี

บริษัทผู้ผลิตสารเคมีมักติดป้ายกำกับสารเคมี เพื่อแสดงถึงลักษณะของอันตรายไว้ที่ฉลากของภาชนะบรรจุสารเคมี ซึ่งมักประกอบไปด้วยสัญลักษณ์ต่างๆกันออกไป ระบบของป้ายกำกับสารเคมีที่ควรรู้จักมีดังต่อไปนี้

NFPA (National Fire Protection Agency) ได้กำหนดป้ายกำกับสารเคมีเป็น รูปเพชร ภายในแบ่งเป็น 4 สี ได้แก่ สีแดง สีน้ำเงิน สีเหลือง และ สีขาว (Special hazard) โดยมี รายละเอียด คือ W หมายถึง สารเคมีที่ทำปฏิกิริยากับน้ำ (Water reactive); Ox หมายถึง Oxidizer; Cor หมายถึง สารเคมีที่มีฤทธิ์ Corrosive นอกจากนี้ ระบบ NFPA ยังแสดงตัวเลข 0-4 เพื่อแสดง ระดับความรุนแรงอีกด้วย





นอกจากระบบ NFPA ป้ายสัญลักษณ์แบ่งประเภทสารอันตรายยังมีระบบอื่นๆที่เป็นที่นิยมใช้ เช่น HMIG (Hazardous material identification guide) เป็นป้ายแสดงอันตรายของสารเคมี ซึ่งพัฒนาขึ้นมาโดยบริษัทเอกชน Lab safety Supply, Inc. และระบบ HMIS (Hazardous material information system) ซึ่งพัฒนาโดย NPCA( National Paint and Coating Association) ทั้งระบบ HMIG และ HMIS มีการใช้สี 4 สี โดยที่สามสีแรก ได้แก่ น้ำเงิน แดง และเหลือง เป็นการระบุถึงอันตรายของสารเคมี ที่เกิดต่อสุขภาพ การติดไฟ และ ปฏิกิริยาของสารเคมี โดยมีระดับคะแนนตั้งแต่ 0-4 (คะแนน 0 หมายถึง สารเคมีนั้นไม่ก่อให้เกิดอันตราย ขณะที่หมายเลข 4 แสดงความอันตรายสูงสุด) ขณะที่สีสุดท้ายได้แก่ สีขาว จะแสดงถึง เครื่องป้องกันส่วนบุคคล ข้อแตกต่างของ HMIG และ HMIS ที่สำคัญได้แก่ ในระบบ ในช่องสีน้ำเงิน ได้มีการเพิ่มช่องขึ้น หากในช่องที่เพิ่มขึ้นนี้มีเครื่องหมายดอกจัน แสดงว่าสารเคมีนั้นส่งมีผลในระยะยาว (Chronic or long term effect)

เครื่องหมายเตือนสารเคมีอันตราย

เครื่องหมายเตือนสารเคมีอันตราย ปกติเป็นเครื่องหมายสากล ที่เข้าใจง่าย อาจใช้สีพื้น หรือข้อความที่แตกต่างกันได้บ้าง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงอันตรายของสารเคมี หรือ แจ้งให้ทราบว่าเป็นพื้นที่อันตราย







ประเภทของสารเคมีอันตราย

ในประเทศไทยการแบ่งประเภทของสารเคมีอันตราย ได้ยึดระบบสหประชาชาติ ที่ใช้อยู่แล้วกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก (International Classification System) ซึ่งแบ่งสารเคมีอันตรายออกเป็น 9 ประเภท



สารเคมีอันตราย (Chemical harzard)

สารเคมีอันตราย หมายถึง สารเคมีที่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่าก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งผลกระทบอย่างฉับพลัน หรือ เรื้อรัง มักรวมถึงสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง (carcinogen) สารพิษ สารพิษที่ก่อให้เกิดผลต่อระบบสืบพันธุ์ (Reproductive toxins) สารที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง (Irritants) สารที่ส่งผลต่อระบบเลือด ระบบประสาท เป็นต้น (Sharp, 2002)

ทั้งนี้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย ได้ ให้ความหมายของ สารเคมีอันตราย ว่าหมายถึง สาร สารประกอบ สารผสม ซึ่งอยู่ในรูปของของแข็ง ของเหลว และ ก๊าซ ที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างดังต่อไปนี้

1. มีพิษ กัดกร่อน ระคายเคือง ทำให้เกิดอาการแพ้ ก่อมะเร็ง หรือ ทำให้เกิดอันตรายต่อ สุขภาพ อนามัย
2. ทำให้เกิดการระเบิด เป็นตัวทำปฏิกิริยาที่รุนแรง เป็นตัวเพิ่มออกซิเจน หรือ ไวไฟ
3. มีกัมมันตภาพรังสี

ในประกาศดังกล่าวได้กำหนดรายชื่อสารเคมีมากกว่า 1,500 ชนิด เป็นสารเคมีอันตราย รายละเอียดสามารถดูได้จากhttp://www.ohseinstitute.org/ohs/thailand/pdf/2_7.pdf

การแยกเก็บสารเคมี (Segregation)

การเก็บสารเคมี ควรมีการจัดแยกเก็บตามชนิด หรือ ประเภทของสารเคมี รวมทั้งประเภทของอันตราย อันตรายของสารเคมีแต่ละชนิดอาจดูได้จากเอกสารข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์ Material Safety Data Sheets (MSDS) อย่างไรก็ตามสารเคมีชนิดหนึ่งอาจถูกจัดเรื่องของความอันตรายอยู่ในหลายหมวดหมู่ได้ ซึ่งในกรณีนี้ควรจัดให้สารเคมีนั้นอยู่ในกลุ่มที่เป็นอันตรายสูงสุด

ข้อพึงระวังในการจัดเก็บสารเคมี

1. ควรมีการกำหนดปริมาณสูงสุดที่จะเก็บสารเคมีประเภทของเหลวที่ไวไฟหรือ ติดไฟ (Flammable and combustible liquid ) ในห้องปฏิบัติการ ไม่ควรเก็บของเหลวไวไฟในภาชนะที่ทำด้วยแก้ว เนื่องจากมีโอกาสที่เกิดการตกแตก และเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย รวมทั้งควรแยกการเก็บสารเคมีประเภทนี้ออกจากสารเคมีที่เป็น Oxidizer เช่น ไม่ควรเก็บกรดอินทรีย์ (Organic acids)ที่มักมีคุณสมบัติติดไฟได้ (combustible) ไว้รวมกับกรดอนินทรีย์ (Inorganic acids) ซึ่งมีคุณสมบัติเป็น Oxidizer กรณีของเหลวที่มีความไวไฟสูงอาจต้องเก็บในตู้เย็น ทั้งนี้ก่อนนำเข้าเก็บ ควรปิดฝาภาชนะให้แน่น เพื่อป้องกันไอระเหยของสารเคมีเหล่านี้

2.การจัดเก็บสารเคมีประเภท Oxidizer
ไม่ควรเก็บสาร Oxidizer รวมกับสารเคมีประเภทของเหลวไวไฟ โดยทั่วไปสารOxidizer ที่เป็นก๊าซ จะมีความไวต่อปฏิกิริยาเคมี รวมทั้งสามารถทำปฏิกิริยากับโลหะต่างๆ
การทำความสะอาดสารเคมีประเภทนี้ ไม่ควรทิ้งลงในถังขยะเนื่องจากอาจเกิดการลุกไหม้ได้

3.สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (Health hazard)
สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (Health hazard ) ได้แก่สารพิษต่างๆ รวมถึงสารก่อมะเร็ง (Carcinogen) และสารที่ก่อให้เกิดความผิดปกติของพันธุกรรม (Mutagen) ควรมีการแยกเก็บสารเคมีประเภทนี้ไว้เฉพาะส่วน รวมทั้งควรมีการกำหนดบุคคลที่สามารถใช้งานสารประเภทนี้เฉพาะผู้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น

4. สารเคมีที่ไม่ควรจัดเก็บร่วมกัน (Incompatible chemicals)
สารเคมีหลายตัวเมื่อทำปฏิกิริยากัน จะเกิดผลลัพธ์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และทรัพย์สิน ดังนั้นควรระมัดระวัง ในการจัดเก็บสารเคมีเหล่านี้ให้แยกจากกัน เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่จะทำให้สารเคมีเหล่านี้ทำปฏิกิริยากัน รวมทั้งระมัดระวังในการนำขวดบรรจุสารเคมีเก่ามาใช้บรรจุสารเคมีตัวอื่นๆ




การจัดเก็บสารเคมี

การจัดเก็บสารเคมีอย่างถูกวิธี ช่วยให้ง่ายในการทำงาน และเกิดความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ การเก็บสารเคมี มีข้อพึงปฏิบัติทั่วไป ดังนี้
1. แยกการเก็บสารเคมีตามประเภทอันตราย จากนั้นจึงค่อยวางเรียงตามลำดับตัวอักษร
2. ไม่ควรใช้ตู้ดูดควัน เป็นที่เก็บสารเคมี
3. เก็บสารเคมีเข้าที่ ภายหลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานทุกครั้ง
4. สารเคมีไวไฟ ควรเก็บตู้ควบคุมอุณหภูมิ เพื่อป้องกันการติดไฟ
5. ไม่ควรเก็บสารเคมีบนชั้นในระดับที่เหนือระดับสายตาขึ้นไป
6. ไม่ควรวางขวดสารเคมีซ้อนกันในแนวตั้ง
7. ไม่ควรเก็บสารเคมีในบริเวณทางเดิน บันได หรือวางบนพื้น ควรเก็บในพื้นที่ที่จัดไว้โดยเฉพาะ
8. สารเคมีทุกตัวควรมีการบันทึก วันที่ได้รับเข้ามาในห้องปฏิบัติการ และวันที่เปิดใช้

การจัดทำบัญชีสารเคมี (Inventory control)

การจัดทำบัญชีสารเคมี (Inventory control) อย่างเหมาะสม นับว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับห้องปฏิบัติการทุกแห่ง โดยมีแนวทางการปฏิบัติ ดังนี้
1.การจัดซื้อสารเคมีควรจัดซื้อเท่าที่จำเป็น การจัดซื้ออาจกระทำเป็นงวด เช่น งวดละ 6 เดือน เป็นต้น
2.ควรตรวจสอบวันหมดอายุของสารเคมีแต่ละตัว
3.ควรมีการบันทึกการซื้อสารเคมีแต่ละตัว เช่น วันที่ได้รับ ชื่อบริษัทที่ผลิต ปริมาณบรรจุ เป็นต้น
4.การใช้สารเคมีควรเป็นลักษณะ First-in, First-out ซึ่งเป็นวิธีการที่ดีเพื่อป้องกันการหมดอายุของสารเคมี
5.ควรมีการกำหนดตัวบุคคลที่ชัดเจน เพื่อเป็นผู้รับผิดชอบ ดูแลการจัดเก็บสารเคมี
6.ควรมีการตรวจสอบสารเคมีทุกๆครึ่งปี ควรกำจัดสารเคมีที่เสื่อมสภาพ เช่น สีเปลี่ยน เป็นตะกอน หรือ สีขุ่น รวมทั้งสารเคมีที่ฉลากลบเลือน หรือ ภาชนะบรรจุเสียหาย

การแยกประเภทสารเคมี (Classification of chemicals)

สารเคมีสามารถแบ่งได้เป็นหลายประเภท แต่เมื่อพิจารณาถึงอันตรายต่อสุขภาพ สามารถแบ่งประเภทของสารเคมี ได้เป็น

1.สารเคมีที่ไวไฟ (Flammable and combustible)
วัตถุไวไฟ (Flammable substances) หมายถึงวัตถุที่ง่ายต่อการติดไฟ และเผาไหม้ในที่ที่มีอากาศ ของเหลวไวไฟ (Flammable liquid) หมายถึง ของเหลวที่มีจุดวาบไฟ ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 37.8 0ซ. ส่วนของเหลวติดไฟได้ (Combustible liquid) หมายถึงของเหลวที่มีจุดวาบไฟสูงกว่า หรือเท่ากับ 37.8 0ซ. บางกรณีมีการแยกประเภทสารไวไฟ ออกเป็นของแข็ง และ ก๊าซ ตัวอย่างของก๊าซไวไฟ เช่น Acetylene, Ethylene oxide และ Hydrogen เป็นต้น
ในกลุ่มของสารเคมีที่ไวไฟ ยังสามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ได้แก่
1.1 สารเคมีที่ระเบิดได้ (Explosive)
สารเคมีที่ก่อให้เกิดการระเบิดเมื่อได้รับความร้อน แสง หรือตัวเร่ง (catalyst) ได้ที่พบในห้องปฏิบัติการ ได้แก่ สารประกอบในกลุ่ม nitrate, chlorate, perchlorates, picrate นอกจากนั้นสารประกอบของโลหะเช่น ผงแมกนีเซียม หรือผงสังกะสี เมื่อผสมกับอากาศ ก็สามารถระเบิดได้เช่นกัน

1.2 สารเคมีที่ติดไฟเองได้ (Pyrophorics)
สารเคมีกลุ่ม Pyrophorics ตามมาตรฐานของ US OSHA (United States Office of Occupation Safety and Administation)ได้แก่สารเคมีที่สามารถติดไฟ(ignition)ได้เองที่อุณหภูมิเท่ากับหรือต่ำกว่า 54.4 0ซ. สารในกลุ่มนี้มักทำปฏิกิริยารุนแรงกับน้ำ (Water reative) และติดไฟเมื่อสัมผัสกับน้ำ หรืออากาศชื้น ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจะเร็วหรือช้าขึ้นกับชนิดของสารเคมี ตัวอย่างสารเคมีประเภทนี้ได้แก่ calcium, magnesium สารเคมีบางตัวสามารถติดไฟขึ้นเองได้ เมื่ออุณหภูมิภายนอกถึงจุดสันดาปของสารเคมีนั้น โดยไม่ต้องอาศัยอุปกรณ์อื่นช่วย สารเคมีเหล่านี้ได้แก่ sodium, potassium, phosphorus เป็นต้น

1.3 สารที่ไวต่อการทำปฏิกิริยากับน้ำ (Water reactive substances)
สารเคมีที่ไวต่อปฏิกิริยากับน้ำ เกิดปฏิกิริยารุนแรง โดยเฉพาะเมื่อมีน้ำอยู่จำกัด สารเคมีในกลุ่มนี้ เช่น สารAlkali และ สาร Alkali earth เช่น potassium, calcium สารในกลุ่ม Anhydrous metal halides เช่น Aluminum bromide, Germanium chloride เป็นต้น

1.4 สารเคมีที่เกิดเปอร์ออกไซด์ (Peroxidizable substances)
สารเคมีในกลุ่มนี้ ทำปฏิกิริยาอย่างช้าๆกับออกซิเจนในอากาศ โดยมีแสง และความร้อนเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เกิดเป็นสารเปอร์ออกไซด์ ซึ่งสามารถก่อให้เกิดการระเบิดรุนแรงได้ การนำสารเคมีในกลุ่มนี้มาใช้ต้องแน่ใจว่าปราศจากสารเปอร์ออกไซด์ บางห้องปฏิบัติการกำหนดระยะเวลาจัดเก็บสารเคมีในกลุ่มนี้เป็นรายสารเคมี รายละเอียดสารเคมีในกลุ่มที่เกิดเปอร์ออกไซด์
และระยะเวลาจัดเก็บในห้องปฏิบัติการ สามารถดูรายละเอียด จากตารางผนวกที่ 2 และ 3

2. สารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อน (Corrosives)
สารในกลุ่มนี้ ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ทำลายเยื่อบุผิวหนัง และเยื่อบุตา สารในกลุ่มนี้ที่สำคัญ ได้แก่ กรดแก่, ด่างแก่, Dehydrating agent, และ Oxidizing agent
2.1 กรดแก่
กรดแก่ หรือ กรดเข้มข้นทุกชนิด สามารถก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง และ เยื่อบุตา เฉพาะอย่างยิ่งกรดไนตริค กรดโครมิค และ กรดไฮโดรฟลูออริค ทั้งนี้การเคลื่อนย้ายกรดเหล่านี้ควรใส่ถุงมือยาง ผ้ายางกันเปื้อน รวมทั้งควรใส่หน้ากากป้องกันไอระเหย

2.2 ด่างแก่
ด่างแก่ เช่น sodium hydroxide, potassium hydroxide, ammonia สารเหล่านี้ มีฤทธิ์ระคายเคืองตาสูง ดังนั้นการเคลื่อนย้ายสารเคมีในกลุ่มนี้ต้องใส่อุปกรณ์ป้องกันเช่นเดียวกันกับการเคลื่อนย้ายกรดแก่


2.3 สารเคมีที่ดูดน้ำ (Dehydrating agent)
สารเคมีในกลุ่มนี้ที่สำคัญ ได้แก่ กรดกำมะถัน (sulfuric acid), sodium hydroxide, Phosphorus pentoxide และ calcium oxide สารเหล่านี้หากสัมผัสผิวหนังก่อให้เกิดอาการไหม้ของผิวหนังได้

2.4 สารออกซิไดซ์ (Oxidizing agent)
สารออกซิไดซ์ (Oxidizing agent) ได้แก่ สารที่เป็นตัวรับอีเล็คตรอน (Electron acceptor)ในปฏิกิริยา หรืออีกความหมายหนึ่งเป็นตัวให้ออกซิเจน สารเคมีในกลุ่มนี้ เช่น สารประกอบHypochlorite, permanganate และ เปอร์ออกไซด์ เป็นต้น เนื่องจากสารเคมีในกลุ่มนี้เป็นตัวให้ออกซิเจน จึงสามารถเป็นตัวเร่งให้เกิดการสันดาป หรือเผาไหม้ได้

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสารเคมี (General information about chemicals)

1.เกรดของสารเคมี (Chemical grade)
เกรดของสารเคมีสามารถแบ่งได้หลายระดับ เช่น
- ACS certified grade มีคุณภาพตามมาตรฐาน American Chemical Society ใช้ในห้องปฏิบัติการโดยทั่วไป
- Reagent grade มีคุณภาพสูง มีมาตรฐานเทียบเท่า ACS certified grade
- Technical grade นิยมใช้ในงานทางอุตสาหกรรม
- Practical or Purified grade มีสิ่งเจือปนบ้าง มักใช้เฉพาะงานทาง การศึกษาและงานทางอนินทรีย์เคมี (Inorganic chemical)
- Primary standard grade มีคุณภาพสูงใช้ในการเตรียมสารละลายมาตรฐาน

2. ข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์ (Material safety data sheet) หรือ MSDS
ข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์ เป็นเอกสารที่บริษัทผู้ผลิตสารเคมี ให้มาพร้อมกับสารเคมี เพื่อที่ผู้ซื้อสามารถศึกษารายละเอียดของสารเคมีที่ใช้ปฏิบัติงาน สามารถขอได้จากบริษัทผู้ขายเคมีภัณฑ์ หรือจากบริษัทผู้ผลิตโดยตรง รวมทั้งสามารถสืบค้นได้จากฐานข้อมูลต่างๆ เช่น ฐานข้อมูลของศูนย์ข้อมูลวัตถุอันตรายและเคมีภัณฑ์ กรมควบคุมมลพิษ ที่ http://msds.pcd.go.th ฐานข้อมูลอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเกี่ยวกับการใช้สารเคมีของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ที่ www.anamai.moph.go.th ฐานข้อมูลการจัดการความรู้เรื่องความปลอดภัยด้านสารเคมี ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ที่ http://www.chemtrack.org หรือ สืบค้นจาก website ต่างประเทศที่ให้บริการข้อมูล MSDS เช่น ที่ http://www.SIRI.org เป็นต้น โดยทั่วไปข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์ จะประกอบไปด้วย

1.ข้อมูลของบริษัทผู้ผลิตสารเคมี
2. หมายเลขสารเคมี CAS registry number (Chemical Abstract Services)
3.ลักษณะทางกายภาพ และเคมีของสารเคมี
4.อันตรายที่อาจเกิดจากการได้รับสารเคมี รวมทั้งโอกาสและช่องทางที่อาจจะได้รับ
5.วิธีที่เหมาะสมในการเก็บรักษา
6.แนวทางการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
7.การจัดการของเสีย
8.การเคลื่อนย้ายและขนส่ง

เจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการทุกคน ควรที่จะศึกษาข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์ ของสารเคมีทุกตัวที่ต้องใช้ในห้องปฏิบัติการ การเก็บข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์ ควรเก็บเข้าแฟ้มเอกสาร เรียงตามตัวอักษร เพื่อความสะดวกในการค้นหาภายหลัง

แผนสุขอนามัยเคมี (Chemical hygiene plan)

1. การจัดหาสารเคมี (Chemical procurement)
1.1 เจ้าหน้าที่ในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการรับสารเคมีเข้าห้องปฏิบัติการ จำเป็นต้องรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมี รวมถึงวิธีการจัดเก็บ และการจัดการของเสียที่เกิดขึ้น
1.2 จัดให้มีการบันทึกวันที่ ที่ได้รับสารเคมีเข้ามาในห้องปฏิบัติการ
1.3 สารเคมี ที่ยอมรับเพื่อใช้ในห้องปฏิบัติการ ควรได้รับในบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม มีฉลากระบุรายละเอียดที่ชัดเจน, เอกสารข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์ (Material safety data sheets) หรือ MSDS ไม่ควรรับสารเคมี กรณีที่บรรจุภัณฑ์มีการชำรุด เสียหาย ระหว่างการขนส่ง
1.4 ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ในห้องปฏิบัติการได้ทราบกรณีเป็นสารเคมีอันตราย หรือ สารก่อมะเร็ง ซึ่งจำเป็นต้องมีวิธีการจัดเก็บเป็นพิเศษ และมีการใช้สารเคมีอย่างถูกต้อง

2. การดำเนินการทั่วไป
2.1 เจ้าหน้าที่ในห้องปฏิบัติการทุกคน ต้องรับทราบนโยบายด้านความปลอดภัย รวมทั้งต้องอ่านคู่มือความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการก่อนเริ่มปฏิบัติงาน
2.2 เจ้าหน้าที่ในห้องปฏิบัติการจะต้องทราบอันตรายต่างๆที่อาจเกิดขึ้น และแนวทางป้องกัน ก่อนเริ่มลงมือทำงาน โดยเฉพาะเมื่อต้องเริ่มงานใหม่
2.3 เจ้าหน้าที่ในห้องปฏิบัติการจะต้องทราบตำแหน่งของอุปกรณ์ช่วยเหลือ และ วิธีการปฏิบัติตนที่ถูกต้องเมื่อได้รับสารเคมี
2.4 เจ้าหน้าที่ในห้องปฏิบัติการจะต้องทราบวิธีการกำจัดของเสียที่เหมาะสม เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม
2.5 เจ้าหน้าที่ในห้องปฏิบัติการจะต้องตรวจสอบว่าภาชนะบรรจุสารเคมีแต่ละตัว มีป้ายและฉลากที่ถูกต้อง และชัดเจน
2.6 การใช้เครื่องมือ ต้องเป็นไปตามลักษณะการใช้งานที่แท้จริงของเครื่องมือนั้นๆ
2.7 ไม่ควรปฏิบัติงานโดยลำพัง กรณีที่ต้องปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสารอันตราย
2.8 ห้ามมิให้นำเข้ามา เก็บ หรือ รับประทานอาหารในห้องปฏิบัติการ
2.9 ห้ามมิให้นำเครื่องแก้ว หรือภาชนะที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ ไปใช้เพื่อการปรุงอาหาร
2.10 กรณีเกิดกลิ่นผิดปกติในห้องปฏิบัติการควรแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบโดยทันที
2.11 ไม่ควรใช้ภาชนะแก้วที่มีรอยแตกร้าว
2.12 ควรสวมใส่แว่นตา(Safety glasses) ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ ยกเว้นใน การเทสารละลายสารเคมี ควรเปลี่ยนมาใช้ gogglesแทน
2.13 ไม่ควรใช้มือในการเก็บ ภาชนะแก้วที่หล่นแตก ให้ใช้ไม้กวาดพื้น และอุปกรณ์ทำความสะอาดที่เหมาะสม
2.14 ให้รายงานการเกิดอุบัติเหตุใดๆที่เกิดขึ้นภายในห้องปฏิบัติการแก่ผู้บังคับบัญชาโดยทันที

3.การปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี (Chemical handling)

3.1 ข้อพึงปฏิบัติทั่วไป ในการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ
3.1.1 ห้ามใช้เปลวไฟในการให้ความร้อนแก่ของเหลวไวไฟ หรือในขบวนการกลั่น (distillation)
3.1.2 ให้ความระมัดระวังในการจุดไฟในห้องปฏิบัติการ ดับไฟทันทีเมื่อเลิกใช้งาน ไม่ควรปล่อยให้ไฟติดทิ้งไว้โดยไม่มีคนดู
3.1.3 ก่อนที่จะทำการจุดไฟ ควรย้ายวัสดุไวไฟออกจากบริเวณดังกล่าว นอกจากนี้ควรแน่ใจว่าได้ปิดภาชนะที่บรรจุของเหลวไวไฟอย่างดีแล้ว
3.1.4 ควรเก็บสารเคมีไวไฟในตู้สำหรับเก็บสารเคมีไวไฟโดยเฉพาะ
3.1.5 ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่ก่อให้เกิดประกายไฟ ในกรณีที่มีสารระเหยไวไฟ (Volatile flammable material)
3.1.6 ควรใช้ตู้ดูดควันในการถ่ายเท ผสม หรือ ให้ความร้อนสารเคมี
3.1.7 กรณีสามารถเลือกใช้สารเคมีได้ ควรเลือกใช้สารเคมี ที่มีความเป็นพิษน้อยที่สุด ในปริมาณน้อยที่สุดเท่าที่พึงกระทำได้
3.1.8 อ่านคู่มือ และเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ เมื่อต้องปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับสารก่อมะเร็ง

3.2 ข้อพึงปฏิบัติเมื่อต้องปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี
3.2.1 ทราบอันตรายของสารเคมีที่ตนต้องใช้ในการปฏิบัติงาน ซึ่งสามารถทราบได้จาก เอกสารข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์ (Material safety data sheets) หรือ MSDS
3.2.2 ทราบสถานที่และวิธีการเก็บรักษาสารเคมีที่เหมาะสม
3.2.3 ทราบวิธีการเคลื่อนย้ายสารเคมีภายในห้องปฏิบัติการ
3.2.4 ทราบวิธีการใช้เครื่องป้องกันตนเองที่เหมาะสมต่อสารเคมี
3.2.5 ทราบจุดเก็บ และวิธีใช้อุปกรณ์ต่างๆในกรณีสัมผัสสารเคมี
3.2.6 ทราบแนวทางการปฏิบัติในกรณีเกิดอุบัติเหตุ เช่น เส้นทางออกจากห้องปฏิบัติการ วิธีปฏิบัติตนเมื่อสัมผัสสารเคมีอันตราย รวมถึงแนวทางการจัดการของเสีย

4. สุขอนามัยบุคคล (Personal hygiene)
4.1 หากผิวหนังถูกสัมผัสโดยสารเคมี ต้องล้างออกโดยทันทีด้วยน้ำประปา หรือน้ำสะอาดอย่างน้อย 15 นาที
4.2 หลีกเลี่ยงการสูดดมไอระเหยของสารเคมี ห้ามทดสอบชนิดของสารเคมีโดยการดมกลิ่นโดยตรงอย่างเด็ดขาด
4.3 ห้ามใช้ปากดูดไปเป็ต ให้ใช้อุปกรณ์ประกอบ เช่น ลูกยาง
4.4 เมื่อเลิกปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ ควรล้างมือด้วยสบู่ และน้ำสะอาด
4.5 ห้ามดื่ม กิน เคี้ยวหมากฝรั่ง สูบบุหรี่ หรือ แม้แต่ทาเครื่องสำอางในห้องปฏิบัติการ
4.6 ห้ามนำเครื่องดื่ม อาหาร บุหรี่ และเครื่องสำอางเข้ามาเก็บในบริเวณห้องปฏิบัติการ
4.7 ห้ามใช้เครื่องไมโครเวฟในห้องปฏิบัติการเพื่อเตรียมกาแฟ อาหาร รวมทั้งห้ามใช้ตู้เย็นในห้องปฏิบัติการเพื่อเก็บอาหาร เช่นกัน

5. การแต่งกายของเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ
ควรใส่เครื่องแต่งกายให้รัดกุม และเหมาะสม ไม่ควรใส่เสื้อผ้าหลวม ผ้าคลุมผม ควรใส่เสื้อกาว แขนยาวตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน เพื่อป้องกันการกระเซ็นและปนเปื้อนของสารเคมี ไม่ควรใส่กางเกงขาสั้น หรือ กระโปรงสั้น รวมทั้งไม่ควรใส่รองเท้าแตะในการปฏิบัติงาน ไม่ควรสวมเครื่องประดับในระหว่างปฏิบัติงานเพราะอาจได้รับการปนเปื้อนของสารเคมี เมื่อต้องปฏิบัติงานกับสารเคมีอันตรายควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม (Personal protective equipment )เช่น เมื่อต้องปฏิบัติงานกับสารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อน ควรใส่ถุงมือที่เหมาะสม และสามารถป้องกันการซึมผ่านของสารเคมีนั้นได้ ใส่แว่นตาเพื่อป้องกันการกระเซ็นของสารเคมีเข้าตา อย่างไรก็ตามควรถอดถุงมือที่ใส่ระหว่างปฏิบัติงาน เมื่อต้องรับโทรศัพท์เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสารเคมี ไปยังอุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งควรถอดเสื้อกาว เมื่อออกจากห้องปฏิบัติการเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของสารเคมีจากห้องปฏิบัติการ

6. การจัดการภายในอาคารปฏิบัติการ (House keeping)
6.1 ควรช่วยกันรักษาความสะอาดของพื้นที่ทำงาน ทำความสะอาดพื้นที่ทำงานทุกครั้งเมื่อเสร็จภารกิจในแต่ละวัน
6.2 ควรทิ้งขยะ และของเสียในภาชนะที่จัดเตรียมไว้
6.3 ควรแยกเครื่องแก้วแตก ในภาชนะรองรับที่แยกต่างหากจากของเสียอื่นๆ
6.4 ไม่ควรเก็บสารเคมีในบริเวณทางเดิน บันได หรือวางบนพื้น ควรเก็บในพื้นที่ที่จัดไว้โดยเฉพาะ
6.5 ภาชนะบรรจุสารเคมีทุกขวด ควรมีป้ายฉลากที่ชัดเจน
6.6 เมื่อสิ้นสุดภารกิจในแต่ละวันควรเก็บขวดสารเคมี กลับเข้าที่
6.7 ของเสียที่เป็นสารเคมีควรแยกเก็บ พร้อมติดป้ายฉลากระบุชนิดของสารเคมีให้ชัดเจน
6.8 จัดให้มีการทำความสะอาดห้องปฏิบัติการเป็นประจำ กรณีที่มีการหกของสารเคมีต้องทำความสะอาดโดยทันที

การกำหนดตัวบุคคลผู้รับผิดชอบความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการจะเกิดขึ้นได้ ขึ้นอยู่กับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เริ่มแต่ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญ รวมทั้งให้การสนับสนุนทั้งเชิงนโยบาย และงบประมาณ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน นอกจากนี้ ควรได้มีการกำหนดผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการติดตาม ตรวจสอบการปฏิบัติงาน (Auditor) ในห้องปฏิบัติการต่างๆของสำนักฯให้เป็นไปตามนโยบาย รวมทั้งในห้องปฏิบัติการแต่ละแห่งต้องกำหนดผู้มีหน้าที่ดูแลการปฏิบัติงานภายในห้องปฏิบัติการ(Laboratory supervisor) ให้เป็นไปตามคู่มือความปลอดภัย

วัตถุประสงค์ของการจัดทำคู่มือความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

วัตถุประสงค์ของการจัดให้มีคู่มือความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ(Laboratory safety manual) และ แผนสุขอนามัยเคมี (Chemical hygiene plan)

1. เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ รวมทั้งผู้เยี่ยมชม
2. เพื่อเตรียมอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยให้พอเพียงต่อผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ
3. เพื่อลดโอกาสในการสัมผัสต่อสารเคมีให้อยู่ในระดับต่ำที่สุด
4. เพื่อลดความเสี่ยงจากการเกิดอุบัติภัยสารเคมีขึ้นในห้องปฏิบัติการ
5. เพื่อป้องกันสิ่งแวดล้อมจากมลพิษสารเคมี และของเสียที่เกิดจากสารเคมีอันตราย
6. เพื่อให้มีการตรวจสอบความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการอย่างสม่ำเสมอ

องค์ประกอบของคู่มือความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

องค์ประกอบที่สำคัญของการจัดทำคู่มือความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการได้แก่ การจัดทำแผนสุขอนามัยสารเคมี (Chemical hygiene plan) ซึ่งมีองค์ประกอบ ที่สำคัญคือ

1. มีการกำหนดตัวบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ในเรื่องของความปลอดภัยของบุคลากรใน ห้องปฏิบัติการไว้อย่างชัดเจน
2. มีการกำหนดแนวทางดำเนินงานในห้องปฏิบัติการ ที่ก่อให้เกิดความปลอดภัยต่อชีวิต และสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน
3. มีการระบุสารเคมีอันตรายทุกตัวที่มีใช้ในห้องปฏิบัติการอย่างชัดเจน
4. มีการกำหนดแนวทางที่ชัดเจนสำหรับควบคุมการใช้สารเคมีอันตรายในห้องปฏิบัติการ
5. มีการตรวจสอบให้มีการใช้เครื่องมือป้องกันตนเองที่เหมาะสมในการปฏิบัติงาน
6. จัดให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับทราบข้อมูลข่าวสาร และได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการอย่างสม่ำเสมอและพอเพียง
7. การปฏิบัติงานใดๆในห้องปฏิบัติการต้องผ่านความเห็นชอบจากผู้ควบคุมห้องปฏิบัติ การก่อนดำเนินการ
8. จัดให้มีการตรวจสุขภาพประจำปีให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน

ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

ปัจจุบัน กรมประมง ได้จัดตั้งห้องปฏิบัติการ ตามศูนย์ฯ และ สถานี ในพื้นที่จังหวัดต่างๆ เพื่อให้บริการแก่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เฉพาะสำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งเอง มีห้องปฏิบัติการกระจายอยู่ตามจังหวัดชายฝั่งทะเลกว่า 20 แห่ง โดยให้บริการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ เช่น การให้บริการตรวจวิเคราะห์สารปฏิชีวนะตกค้างในผลผลิตกุ้งทะเลจากฟาร์มเลี้ยง การตรวจโรค ไวรัสกุ้งทะเลโดยเทคนิค PCR (Polymerase Chain Reaction) รวมถึงการให้บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำ และดินจากบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ทำให้มีการใช้สารเคมีในการตรวจวิเคราะห์เหล่านี้อยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้สารเคมีที่ใช้บางตัวอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานได้ อันตรายดังกล่าวอาจที่เกิดจากการสัมผัสสารเคมีโดยตรง การกลืนกิน หรือ การสูดดมสารเคมี ผลที่ได้จากการรับสารเคมีอันตราย อาจเกิดอย่างเฉียบพลัน หรือ แบบเรื้อรัง สารเคมีบางตัวยังเป็นสารก่อให้เกิดมะเร็ง (Carcinogen) สารเคมีบางตัวมีปฏิกิริยาที่รุนแรงก่อให้เกิดการระเบิด หรือติดไฟซึ่งนอกจากเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานแล้วยังอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของราชการได้ ขณะเดียวกันของเสียที่เกิดจากการใช้สารเคมีจาก ห้องปฏิบัติการหากไม่ได้รับการจัดการที่ดีอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ การจัดทำคู่มือความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ(Laboratory safety manual) นับเป็นเรื่องที่ปฏิบัติกันทั่วไปในห้องปฏิบัติการในต่างประเทศ ซึ่งเน้นให้ความสำคัญกับสุขภาพ และความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานเป็นเรื่องใหญ่ แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักเท่าที่ควรในประเทศไทย การจัดทำคู่มือความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการในครั้งนี้ใช้แนวทางการจัดทำคู่มือความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ รวมทั้งใช้มาตรฐานด้านความปลอดภัยของประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นแนวทาง เพื่อนำมาประยุกต์ ใช้กับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการของสำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กรมประมง และใช้เป็นเอกสารประกอบการสืบค้นข้อมูลด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ รวมทั้งเป็นการพัฒนามาตรฐานห้องปฏิบัติการของกรมประมงให้ได้มาตรฐานสากล และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป

บทนำเกี่ยวกับการปกป้องสิทธิของแรงงานต่างชาติและการช่วยเหลือ แรงงานต่างชาติเมื่อเกิดปัญหา



ความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแรงงาน

ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยและอาชีวอนามัย นายจ้าง จะต้องจัดให้มีการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในสถานประกอบการ นอกจากนี้ นายจ้างจะต้องจัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล วิธีการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย การฝึกฝนด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย และการป้องกันอันตราย ให้แก่คนงาน เพื่อป้องกัน การบาดเจ็บทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ

การจัดการความขัดแย้ง
ในระหว่างที่ทำงานในไต้หวันคนงานสามารถขอความช่วยเหลือจากสำนักงาน แรงงานในทุก ๆ จังหวัดหรือเขตได้ ในกรณีที่มีความขัดแย้งกัน

การติดต่อขอความช่วยเหลือ

ในระหว่างที่ทำงานในไต้หวัน ถ้ามีข้อขัดแย้งเกิดขึ้นระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ทั้ง 2 ฝ่ายสามารถติดต่อศูนย์บริการให้คำปรึกษาตามที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ต่อไปนี้ ( สายด่วน เพื่อร้องทุกข์ โดย กรมแรงงาน : ภาษาอังกฤษ โทร 0800-885885; ภาษาไทย โทร 0800-885995; ภาษาอินโดนีเซีย โทร 0800-885958; ภาษาเวียดนาม โทร 0800-017858 )



การสูญเสียชีวิตเนื่องจากถูกชนด้วยแขนของเครื่องเคลือบนิคเกิ้ลบนแผ่น บอร์ดพีซีบี

กรณีที่ 3 : การถูกชน
ชื่อเรื่อง : การสูญเสียชีวิตเนื่องจากถูกชนด้วยแขนของเครื่องเคลือบนิคเกิ้ลบนแผ่น บอร์ดพีซีบี











บทสรุป
การบาดเจ็บจากการทำงานอาจจะเกิดจากสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยหรือ พฤติกรรมที่เสี่ยงอันตรายทั้งคนงานและนายจ้างจะต้องมีความรับผิดชอบร่วมกันเกี่ยวกับความ ปลอดภัยและอาชีวอนามัยคนงานมีหน้าที่ที่จะต้องรายงานให้นายจ้างทราบเกี่ยวกับ สถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัยต่าง ๆ ในสถานประกอบการ และนายจ้างจะต้องมีหน้าที่ในการดูแล และปรับปรุงสถานประกอบการให้มีความปลอดภัยและแก้ไขพฤติกรรมที่เสี่ยงอันตรายของ คนงานหลักการเหล่านี้เป็นผลสืบเนื่องจากการศึกษาและการฝึกฝนระยะยาวด้านความ
ปลอดภัยและอาชีวอนามัย ถ้าจัดให้องค์กรมีจิตสำนึกทางด้านนี้ สภาพการทำงานก็จะได้รับ การปรับปรุง องค์กรจะมีภาพพจน์ที่ดี และคนงานจะมีความภักดีต่อองค์กร ซึ่งจะส่งผลให้ การผลิตสามารถดำเนินไปได้ด้วยดีและไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น

การสูญเสียชีวิตจากถูกหนีบด้วยเครื่องยกแผ่นบอร์ดอะลูมิเนียม

กรณีที่ 2 : การถูกเครื่องจักรหนีบหรือบดทับอวัยวะ
ชื่อเรื่อง : การสูญเสียชีวิตจากถูกหนีบด้วยเครื่องยกแผ่นบอร์ดอะลูมิเนียม









การสูญเสียชีวิตจากถูกหนีบด้วยเครื่องเคลื่อนย้ายวัสดุในบ่อออกไซด์ดำ

กรณีที่ 1 : การถูกเครื่องจักรหนีบหรือบดทับอวัยวะ
ชื่อเรื่อง : การสูญเสียชีวิตจากถูกหนีบด้วยเครื่องเคลื่อนย้ายวัสดุในบ่อออกไซด์ดำ











ความปลอดภัยและสุขศาสตร์สำหรับอุตสาหกรรมไฟฟ้า

ลักษณะของอุตสาหกรรมไฟฟ้า

ลักษณะประการหนึ่งของอุตสาหกรรมไฟฟ้า คือ การใช้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่มี กำลังสูง โดยที่เครื่องจักรเหล่านี้อาจจะทำงานด้วยระบบอัตโนมัติหรือกึ่งอัตโนมัติ นอกจากนี้ ลักษณะอีกประการหนึ่ง คือ มีการใช้สารเคมีที่การกัดกร่อนสูงด้วย การบาดเจ็บที่มักจะเกิดขึ้น
ในอุตสาหกรรมประเภทนี้ จะมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภทดังต่อไปนี้ การบาดเจ็บเนื่องจากสารเคมี การบาดเจ็บทางกายภาพ และ การบาดเจ็บจากปัญหาการยศาสตร์

1. การบาดเจ็บเนื่องจากสารเคมี : การสูดดมหรือสัมผัสฝุ่น ไอระเหย ควัน และโลหะ อโลหะ สารไฮโดรคาร์บอน และก๊าซพิษ
2. การบาดเจ็บทางกายภาพ : สภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงหรือต่ำ กัมมันตภาพรังสี เสียงดัง การสั่นสะเทือน และความดันอากาศที่ผิดปกติ
3. การบาดเจ็บจากปัญหาการยศาสตร์ : แสงสว่างไม่เพียงพอ การบาดเจ็บจาก การเคลื่อนย้ายสิ่งของและจากเครื่องมือทำงาน



การวิเคราะห์กรณีศึกษา

เครื่องมือที่มีกำลังสูงมักจะใช้กันเป็นที่เเพร่หลายในอุตสาหกรรมไฟฟ้า ความรุนแรง ของการบาดเจ็บประเภทต่าง ๆ ก็มีระดับแตกต่างกัน จึงแบ่งได้เป็นหลายระดับ ในกรณีศึกษา ที่จะกล่าวถึงนั้น การบาดเจ็บที่ก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิตมากที่สุด คือ การถูกเครื่องจักรตัด และบดทับอวัยวะ แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีการบาดเจ็บรุนแรงประเภทอื่น ๆ อีกหลายประเภท หลังจากที่ได้ศึกษากรณีศึกษาต่าง ๆ นี้แล้ว เป็นที่คาดว่านายจ้างและคนงานจะตระหนักถึง ความสำคัญของการความปลอดภัยและสุขศาสตร์ในการทำงาน

สาเหตุของการบาดเจ็บสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้
1. สาเหตุเบื้องต้น คือ สาเหตุเบื้องต้นหรือโดยตรงที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ
2. สาเหตุซ่อนเร้น คือ สาเหตุซึ่งไม่เด่นชัดและต้องอาศัยการสืบย้อนจากสาเหตุ เบื้องต้น
3. ต้นเหตุ คือ สาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ

หลังจากที่ได้อธิบายสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุแล้วอันดับต่อไปคือการระบุ พฤติกรรมที่เสี่ยงอันตรายและสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยที่อาจทำให้เกิดปัญหาตาม

สมมุติฐาน
ก. สภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย : นายจ้างไม่ได้จัดให้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ต่อการทำงานกับเครื่องจักรและการทำงานกับคอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัย ไม่มีการจัดตาราง การศึกษาและหลักสูตรฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยและอาชีวอนามัย เป็นต้น
ข. พฤติกรรมที่เสี่ยงอันตราย : เป็นพฤติกรรมที่เป็นผลจากการขาดความรู้เกี่ยวกับ มาตรฐานและการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับหลักการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย และเป็น ผลสืบเนื่องจากการที่คนงานไม่ปฏิบัติตามวิธีการที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงต่อ การเกิดอุบัติเหตุ

การแบ่งประเภทของสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุเป็นการแบ่งแบบคร่าว ๆ ในบาง สถานการณ์อาจจะมีสาเหตุซึ่งกำกวมและปัจจัยก็อาจจะแตกต่างกันโดยจะขึ้นกับการบาดเจ็บ แต่ละประเภท สุดท้ายนี้จะกล่าวถึงวิธีการที่ช่วยปรับปรุงสถานการณ์และสภาพแวดล้อมในการ
ทำงานปัจจุบัน และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตด้วย

ความปลอดภัยในการประกอบอาชีพและการดูแล สุขภาพของแรงงานต่างชาติ

ความปลอดภัยในการประกอบอาชีพและการดูแล สุขภาพของแรงงานต่างชาติในประเทศไต้หวัน ความปลอดภัยและสุขศาสตร์สำหรับอุตสาหกรรมไฟฟ้า



หัวข้อที่ 1 : บทนำเกี่ยวกับระบบความปลอดภัยและสุขศาสตร์ของคนงานในไต้หวัน หลักการพื้นฐานในเรื่องของความปลอดภัยและอาชีวอนามัยและประเภท ของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในโรงงานอุตสาหกรรม

1-1 ระบบความปลอดภัยและสุขศาสตร์ของคนงาน



1-2 การป้องกันเป็นนโยบายที่ดีที่สุด

หลักการพื้นฐานในเรื่องของความปลอดภัยและอาชีวอนามัย สาเหตุหลัก 2 ประการของการบาดเจ็บในระหว่างการทำงาน คือ “พฤติกรรมที่เสี่ยง อันตราย” และ “สภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย” ข้อมูลของสำนักงานฝึกอบรมวิชาชีพชี้ให้เห็น ว่า พฤติกรรมที่เสี่ยงอันตรายซึ่งอาจจะก่อให้เกิดการบาดเจ็บ มีดังต่อไปนี้
1. ความละเลยและความประมาท
2. การละเมิดข้อห้ามต่าง ๆ
3. การไม่ปฎิบัติตามวิธีการปฏิบัติมาตรฐาน
4. การไม่สวมอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล
5. การที่มีสภาพร่างกายอยู่ในสภาวะที่ไม่สมบูรณ์
อย่างไรก็ตาม จำนวนเปอร์เซ็นต์ของการบาดเจ็บเนื่องจากการทำงาน แบ่งได้ตาม สาเหตุหลักดังนี้คือ 3% เกิดจากสาเหตุที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้24%เกิดจากสภาพแวดล้อม หรือเครื่องมือที่ไม่ปลอดภัยและ73%เกิดจากพฤติกรรมที่เสี่ยงอันตราย วิธีการที่มีประสิทธิผล สำหรับป้องกันการบาดเจ็บจากการทำงาน คือ การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงอันตรายทั้ง 5 ข้อที่ได้กล่าวถึงในข้างต้น

1-3 จำนวนแรงงานต่างชาติในไต้หวัน แบ่งตามประเภทอุตสาหกรรม



1-4 ประเภทของอุตสาหกรรมและการบาดเจ็บ





1-5 การศึกษาเกี่ยวกับความปลอดภัยและสุขศาสตร์

จุดประสงค์การศึกษาเกี่ยวกับความปลอดภัยและลุขศาสตร์ คือ การป้องกันล่วงหน้า ของการเกิดอุบัติเหตุเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายอย่างมีประสิทธิผลจำเป็นจะต้องดำเนินมาตรการ ป้องกันที่เหมาะสมและถูกต้องต่อคนงานและลูกจ้าง และให้การศึกษาเกี่ยวกับความปลอดภัย และสุขศาสตร์ ซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้