โลกของเราทุกวันนี้ ต้องเผชิญกับภัยคุกคามด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยงได้ ทั้งมลภาวะเป็นพิษ ในหลากหลายรูปแบบ ก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศเพิ่มปริมาณสูงขึ้นจนก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming) ซึ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยจะเห็นได้จากก้อนน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกที่มีปริมาตรลดลงจากการ ละลายด้วยอัตราที่รวดเร็ว ทำให้ปริมาณน้ำทะเลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่มีจำนวนจำกัด มากขึ้น มีแนวโน้มชัดเจนที่ในอนาคตอันใกล้หลายประเทศทั่วโลกจะประสบกับภาวะขาดแคลนน้ำ อาหาร และ พลังงาน ตลอดจนพื้นที่ทำกินที่มีความอุดมสมบูรณ์ก็ลดขนาดลงตามไปด้วย ส่งผลให้ปัญหาความยากจนที่กระจาย ตัวอยู่ทั่วโลกโดยเฉพาะในทวีปแอฟริกาและเอเชียมีแนวโน้มรุนแรงยิ่งขึ้น สภาวการณ์ที่กล่าวมาเหล่านี้ ล้วน แล้วแต่เป็นผลมาจากการกระทำของมนุษย์ทั้งสิ้น “ความตระหนักและมีจิตสำนึกร่วมกันในการแก้ไขปัญหา สิ่งแวดล้อม” จึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง
ภาคอุตสาหกรรมได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดในฐานะตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาได้มีความพยายามอย่างต่อเนื่องในการศึกษาวิเคราะห์เพื่อสรรหาหลักการ แนวคิด วิธีการ รวมทั้งเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเพื่อจัดการกับความรุนแรงของปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆ ในขณะเดียวกัน ภาคอุตสาหกรรมซึ่งถือเป็นกลไกหลักที่สนับสนุนการเจริญเติบโตของประเทศ ก็จำเป็นต้องพัฒนาตนเองให้ เจริญก้าวหน้าอย่างมั่งคงและสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก ดังนั้น “การเพิ่มผลิตภาพสีเขียว (Green
Productivity : GP)” จึงนับว่าเป็นกุญแจดอกหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการ นักวิชาการ และ บุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม ในการนำแนวคิดดังกล่าวมาประยุกต์ใช้เพื่อผลักดัน “การพัฒนา ภาคอุตสาหกรรมให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน ควบคู่ไปกับการจัดการปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น