Ads

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

4 คุณลักษณะงานตามแนวคิดการเพิ่มผลิตภาพสีเขียว (4 Distinguishing Characteristics of GP)

การดำเนินการตามแนวคิด GP แบ่งคุณลักษณะของการดำเนินงานออกเป็น 4 หมวด (Criteria) ได้แก่

1) หลักการพื้นฐานการมีส่วนร่วมของ “คน” (Integrated People-based Approach) จุดแข็ง หนึ่งของ GP คือ การมุ่งเน้นหลักการมีส่วนร่วมของคนในองค์กรและการทำงานร่วมกันเป็นทีม (Worker Involvement and Team-based Approach) ทั้งสภาพแวดล้อมในการทำงาน สุขภาพที่ดี และความปลอดภัย ของพนักงาน การไม่แยกแยะความแตกต่าง/ ปราศจากชั้นวรรณะในองค์กร (Non-discrimination) และ สวัสดิการสังคมต่างๆ ที่ได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น ปัจจัยที่กล่าวมานี้ ย่อมสร้างความ เชื่อมั่นระหว่างคนในองค์กรและระบบบริหารจัดการ และผลักดันให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของคนทั้งองค์กรใน การดำเนินการตามแนวคิด GP

2) การปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลิตภาพ (Productivity Improvement) เป็นการปรับปรุงกระบวนการ อย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) ผ่านกระบวนการทำงานโดยใช้หลักการ KAIZEN หรือดำเนินการ อยู่ในวัฏจักรของ PDCA (Plan, Do, Check, and Act) โดยมุ่งเน้นไปที่การนำไปสู่เป้าหมายในการเพิ่ม ผลิตภาพ แต่แนวคิด GP มีความแตกต่างอยู่ที่การมุ่งเน้นจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย

KAIZEN หมายถึง การปรับปรุงแบบค่อยเป็นค่อยไปและไม่มีที่สิ้นสุด (Gradual and Unending Improvement) เป็นการทำ “สิ่งเล็กๆ” ให้ดีขึ้น (Doing “Little Things” Better) เพื่อนำไปสู่การสร้างมาตรฐานที่สูงขึ้น (Higher Standards) และ KAIZEN มีลักษณะตรงกันข้ามกับความพึงพอใจ (Complacency) นอกจากนี้ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องตามหลักการดังกล่าว สามารถนำไปปรับใช้ได้กับทั้งในชีวิตประจำวันของแต่ละคน ชีวิต ครอบครัว ชีวิตที่ทำงาน และชีวิตในสังคมทั่วไป




3) การปรับปรุงด้วยการขับเคลื่อนของข้อมูล (Information-driven Improvement) การจัดการ เอกสารหลักฐานการดำเนินงาน (Documentation) และการรายงานผล (Reporting) เป็นส่วนหนึ่งของระบบการ บริหารจัดการที่ก่อให้เกิดผลทั้งในเชิงคุณภาพและสิ่งแวดล้อม โดยมีแนวคิดที่ว่า “What gets measured gets done” “อะไรก็ตามที่มีการวัดผล สิ่งนั้นจะสำเร็จ” ซึ่งเป็นแรงผลักดันหนึ่งของความสำเร็จในการดำเนินการ ตามแนวคิด GP เนื่องจากภายใต้กระบวนการทำงานของ GP สมรรถนะขององค์กรจะมีการวัดและประเมินผลการ ดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ตัวชี้วัดการปฏิบัติงานตามแนวคิด GP (GP Performance Indicators) ที่ได้ กำหนดไว้ในช่วงเริ่มต้นการดำเนินงาน สำหรับเอกสารหลักฐานการดำเนินงาน อาจประกอบด้วยบันทึก/รายงาน การประชุม รายงานการเก็บข้อมูลต่างๆ ผลการสำรวจเกี่ยวกับลูกค้า/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รายงานสรุปความคืบหน้า การดำเนินงานของทีมดำเนินการ ระดับความสำเร็จในการบรรลุผลตามตัวชี้วัด รวมทั้งส่วนที่จำเป็นต้องให้ ความสำคัญมากขึ้น โดยสิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ การเก็บเอกสารมากเกินไป จะทำให้ สิ้นเปลืองทรัพยากร เสียเวลา และเสียเงิน ส่วนการเก็บเอกสารน้อยเกินไป อาจทำให้ เกิดข้อผิดพลาด ข้อบกพร่อง/เสียหาย และ ความล้มเหลวได้

4) ความสอดคล้องกับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Compliance)
ปัจจุบันมีกฎระเบียบ ข้อบังคับเรื่องการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในหลากหลายประเด็น ซึ่งถือว่าเป็นประเด็นท้าทายที่ภาคอุตสาหกรรม ต้องเผชิญและต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับกฎระเบียบข้อบังคับดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งการดำเนินการตาม แนวคิด GP เป็นอีกหนึ่งทางออกที่ช่วยจัดการกับประเด็นท้าทายนี้ได้ ในขณะที่ผลิตภาพเพิ่มขึ้นพร้อมๆ กันไปด้วย อีกทั้งเป็นการสนับสนุนการปลูกจิตสำ นึกภายในองค์กรให้เกิดความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility) มากยิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น