Ads

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

4 คุณลักษณะงานตามแนวคิดการเพิ่มผลิตภาพสีเขียว (4 Distinguishing Characteristics of GP)

การดำเนินการตามแนวคิด GP แบ่งคุณลักษณะของการดำเนินงานออกเป็น 4 หมวด (Criteria) ได้แก่

1) หลักการพื้นฐานการมีส่วนร่วมของ “คน” (Integrated People-based Approach) จุดแข็ง หนึ่งของ GP คือ การมุ่งเน้นหลักการมีส่วนร่วมของคนในองค์กรและการทำงานร่วมกันเป็นทีม (Worker Involvement and Team-based Approach) ทั้งสภาพแวดล้อมในการทำงาน สุขภาพที่ดี และความปลอดภัย ของพนักงาน การไม่แยกแยะความแตกต่าง/ ปราศจากชั้นวรรณะในองค์กร (Non-discrimination) และ สวัสดิการสังคมต่างๆ ที่ได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น ปัจจัยที่กล่าวมานี้ ย่อมสร้างความ เชื่อมั่นระหว่างคนในองค์กรและระบบบริหารจัดการ และผลักดันให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของคนทั้งองค์กรใน การดำเนินการตามแนวคิด GP

2) การปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลิตภาพ (Productivity Improvement) เป็นการปรับปรุงกระบวนการ อย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) ผ่านกระบวนการทำงานโดยใช้หลักการ KAIZEN หรือดำเนินการ อยู่ในวัฏจักรของ PDCA (Plan, Do, Check, and Act) โดยมุ่งเน้นไปที่การนำไปสู่เป้าหมายในการเพิ่ม ผลิตภาพ แต่แนวคิด GP มีความแตกต่างอยู่ที่การมุ่งเน้นจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย

KAIZEN หมายถึง การปรับปรุงแบบค่อยเป็นค่อยไปและไม่มีที่สิ้นสุด (Gradual and Unending Improvement) เป็นการทำ “สิ่งเล็กๆ” ให้ดีขึ้น (Doing “Little Things” Better) เพื่อนำไปสู่การสร้างมาตรฐานที่สูงขึ้น (Higher Standards) และ KAIZEN มีลักษณะตรงกันข้ามกับความพึงพอใจ (Complacency) นอกจากนี้ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องตามหลักการดังกล่าว สามารถนำไปปรับใช้ได้กับทั้งในชีวิตประจำวันของแต่ละคน ชีวิต ครอบครัว ชีวิตที่ทำงาน และชีวิตในสังคมทั่วไป




3) การปรับปรุงด้วยการขับเคลื่อนของข้อมูล (Information-driven Improvement) การจัดการ เอกสารหลักฐานการดำเนินงาน (Documentation) และการรายงานผล (Reporting) เป็นส่วนหนึ่งของระบบการ บริหารจัดการที่ก่อให้เกิดผลทั้งในเชิงคุณภาพและสิ่งแวดล้อม โดยมีแนวคิดที่ว่า “What gets measured gets done” “อะไรก็ตามที่มีการวัดผล สิ่งนั้นจะสำเร็จ” ซึ่งเป็นแรงผลักดันหนึ่งของความสำเร็จในการดำเนินการ ตามแนวคิด GP เนื่องจากภายใต้กระบวนการทำงานของ GP สมรรถนะขององค์กรจะมีการวัดและประเมินผลการ ดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ตัวชี้วัดการปฏิบัติงานตามแนวคิด GP (GP Performance Indicators) ที่ได้ กำหนดไว้ในช่วงเริ่มต้นการดำเนินงาน สำหรับเอกสารหลักฐานการดำเนินงาน อาจประกอบด้วยบันทึก/รายงาน การประชุม รายงานการเก็บข้อมูลต่างๆ ผลการสำรวจเกี่ยวกับลูกค้า/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รายงานสรุปความคืบหน้า การดำเนินงานของทีมดำเนินการ ระดับความสำเร็จในการบรรลุผลตามตัวชี้วัด รวมทั้งส่วนที่จำเป็นต้องให้ ความสำคัญมากขึ้น โดยสิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ การเก็บเอกสารมากเกินไป จะทำให้ สิ้นเปลืองทรัพยากร เสียเวลา และเสียเงิน ส่วนการเก็บเอกสารน้อยเกินไป อาจทำให้ เกิดข้อผิดพลาด ข้อบกพร่อง/เสียหาย และ ความล้มเหลวได้

4) ความสอดคล้องกับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Compliance)
ปัจจุบันมีกฎระเบียบ ข้อบังคับเรื่องการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในหลากหลายประเด็น ซึ่งถือว่าเป็นประเด็นท้าทายที่ภาคอุตสาหกรรม ต้องเผชิญและต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับกฎระเบียบข้อบังคับดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งการดำเนินการตาม แนวคิด GP เป็นอีกหนึ่งทางออกที่ช่วยจัดการกับประเด็นท้าทายนี้ได้ ในขณะที่ผลิตภาพเพิ่มขึ้นพร้อมๆ กันไปด้วย อีกทั้งเป็นการสนับสนุนการปลูกจิตสำ นึกภายในองค์กรให้เกิดความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility) มากยิ่งขึ้น

วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555

จุดเน้นของแนวคิดการเพิ่มผลิตภาพสีเขียว (GP’s Triple Focus)

การพัฒนาตามแนวคิด GP จำเป็นต้องมีความตระหนักถึงความสำคัญของ “การพึ่งพาอาศัยกันของ ระบบเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม (Interdependency of Economic, Social, and Environmental Systems)” โดยมีจุดเน้นใน 3 ประเด็น ที่เรียกว่า GP’s Triple Focus ได้แก่

1) สิ่งแวดล้อม (Environment) แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืน
2) ความสามารถในการทำกำไร (Profitability) พิจารณาจากปัจจัยนำเข้า (Factor Inputs)
3) คุณภาพ (Quality) ผ่านเสียงสะท้อนจากลูกค้าทั้งต่อสินค้าและบริการ โดยไม่เพียงแต่รับฟังความคิดเห็นของลูกค้าเท่านั้น แต่ทำความเข้าใจสาเหตุและที่มาของความเชื่อ/ความคิดเหล่านั้น และหาแนวทางที่จะพัฒนาสินค้าและบริการให้เกินกว่าความ คาดหมายของลูกค้า โดย Oscar Wilde เคยกล่าวไว้ว่า “Don’t give the people what they want; give them what they never have thought possible.”



GP เป็นการใช้ประโยชน์การจัดการคุณภาพโดยสนับสนุนการใช้ วัตถุดิบที่ใหม่และปลอดภัยกว่า เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการและการ
ผลิต รวมทั้งปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน การพัฒนาตามแนวคิด GP ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจทั้งในเรื่องสมรรถนะในการปฏิบัติงานที่ สูงขึ้น และการเพิ่มมูลค่าโดยใช้ทรัพยากรน้อยลง ทั้งลดการใช้พลังงาน และลดปริมาณของเสีย ดังแนวคิดที่ว่า ผลิตภาพเกิดจาก “การทำให้ดี ขึ้นโดยใช้ให้น้อยลง” (Doing Better with Less) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง GP ส่งผลให้การใช้ทรัพยากร/วัตถุดิบต่างๆ และพลังงานเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพและยั่งยืนมากยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดการลดต้นทุนโดยตรงให้กับ ธุรกิจควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างแท้จริง ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า GP เป็น Win-Win situation ระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อมซึ่งสามารถเห็นภาพได้อย่างชัดเจน

นิยามของการเพิ่มผลิตภาพสีเขียว (The Definition of GP)

สำหรับนิยามของ GP อ้างอิงจาก “Handbook on Green Productivity” ซึ่งจัดทำโดย Asian Productivity Organization (APO) ได้ให้คำจำกัดความว่า “Green Productivity is …a strategy for enhancing productivity and environmental performance for overall socio-economic development. It is the application of appropriate techniques, technologies, and management systems to produce environmentally compatible goods and services. Green Productivity can be applied in manufacturing, service, agriculture, and communities.”

จึงสามารถสรุปได้ว่า GP เป็น “ยุทธศาสตร์” เพื่อเสริมสร้าง “สมรรถนะด้านการเพิ่มผลิตภาพและด้าน การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม” โดยการประยุกต์ใช้อย่างถูกต้องจะส่งผลให้เกิด “การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม” ในองค์รวมให้ดีขึ้นควบคู่กันไป และช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact) ที่เกิดจาก กิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในองค์กร ตลอดจนจากการผลิตสินค้าและบริการ นอกจากนี้ GP ยังเป็นเครื่องมือที่ประกอบ ไปด้วยเทคนิค เทคโนโลยี และระบบบริหารจัดการต่างๆ ที่เหมาะสมในการสรรค์สร้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตร
ต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกภาคส่วน ทั้งภาคอุตสาหกรรม บริการ เกษตรกรรม และ ชุมชนต่างๆ

ทั้งนี้ การดำเนินงานตามแนวคิด GP ให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายจำเป็นต้องอาศัยบุคลากรซึ่งมี วิสัยทัศน์เปิดรับการเปลี่ยนแปลงและเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงความจำเป็นในการปรับตัวให้ก้าวทันต่อสภาวการณ์ รวมทั้งการดำเนินการตามแนวคิด GP เป็นการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) เพื่อให้ ผลลัพธ์ที่เกิดจากการดำเนินการคงอยู่กับองค์กรอย่างยั่งยืนที่สุด

นิยามและกรอบแนวคิดการเพิ่มผลิตภาพสีเขียว (GP Definition and Approach)

การดำเนินกิจการของสถานประกอบการอุตสาหกรรมในยุคปัจจุบัน จำเป็นต้องคำนึงถึงกระบวนการ ปรับปรุงในเชิงธุรกิจและการบริหารจัดการ ซึ่งก่อให้เกิดการลดต้นทุนและเพิ่มผลิตภาพเพื่อจะนำไปสู่ผลกำไรสูงสุด ในขณะที่ต้องตระหนักถึงปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งสร้างความเชื่อมั่นในความปลอดภัยและ สภาพแวดล้อมในการทำงานของบุคลากรภายในสถานประกอบการ ทั้งนี้ เพื่อปรับตัวให้สอดรับกับความต้องการ ของลูกค้าและตลาดที่ให้ความสำคัญกับสินค้าที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental-friendly Products) มากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความแตกต่างในเชิง นวัตกรรมและจุดแข็งให้แก่ธุรกิจในเวทีโลกด้วย

แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยตามแนวคิดการเพิ่มผลิตภาพสีเขียว (Green Productivity)

โลกของเราทุกวันนี้ ต้องเผชิญกับภัยคุกคามด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยงได้ ทั้งมลภาวะเป็นพิษ ในหลากหลายรูปแบบ ก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศเพิ่มปริมาณสูงขึ้นจนก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming) ซึ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยจะเห็นได้จากก้อนน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกที่มีปริมาตรลดลงจากการ ละลายด้วยอัตราที่รวดเร็ว ทำให้ปริมาณน้ำทะเลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่มีจำนวนจำกัด มากขึ้น มีแนวโน้มชัดเจนที่ในอนาคตอันใกล้หลายประเทศทั่วโลกจะประสบกับภาวะขาดแคลนน้ำ อาหาร และ พลังงาน ตลอดจนพื้นที่ทำกินที่มีความอุดมสมบูรณ์ก็ลดขนาดลงตามไปด้วย ส่งผลให้ปัญหาความยากจนที่กระจาย ตัวอยู่ทั่วโลกโดยเฉพาะในทวีปแอฟริกาและเอเชียมีแนวโน้มรุนแรงยิ่งขึ้น สภาวการณ์ที่กล่าวมาเหล่านี้ ล้วน แล้วแต่เป็นผลมาจากการกระทำของมนุษย์ทั้งสิ้น “ความตระหนักและมีจิตสำนึกร่วมกันในการแก้ไขปัญหา สิ่งแวดล้อม” จึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง

ภาคอุตสาหกรรมได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดในฐานะตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาได้มีความพยายามอย่างต่อเนื่องในการศึกษาวิเคราะห์เพื่อสรรหาหลักการ แนวคิด วิธีการ รวมทั้งเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเพื่อจัดการกับความรุนแรงของปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆ ในขณะเดียวกัน ภาคอุตสาหกรรมซึ่งถือเป็นกลไกหลักที่สนับสนุนการเจริญเติบโตของประเทศ ก็จำเป็นต้องพัฒนาตนเองให้ เจริญก้าวหน้าอย่างมั่งคงและสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก ดังนั้น “การเพิ่มผลิตภาพสีเขียว (Green
Productivity : GP)” จึงนับว่าเป็นกุญแจดอกหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการ นักวิชาการ และ บุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม ในการนำแนวคิดดังกล่าวมาประยุกต์ใช้เพื่อผลักดัน “การพัฒนา ภาคอุตสาหกรรมให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน ควบคู่ไปกับการจัดการปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน”

แนวโน้มส่งออก ถุงมือยาง และถุงยางคุมกำเนิด ครึ่งหลังปี 2553 : ขยายตัวต่อเนื่อง

ปัจจัยสนับสนุน
ถุงมือยาง : ความต้องการใช้ยังคงขยายตัว

• ความวิตกกังวลในโรคระบาด ผลกระทบจากการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 (H1N1) รวมทัง6 โรคระบาดอื นๆ ที เกิดขึน6 ในช่วงก่อนหน้านี6 เช่น ไข้หวัดนก (H5N1) และโรค SARS ส่งผลให้หลายประเทศตื นตัวและรณรงค์ให้ประชาชนในประเทศหันมา ป้องกันและดูแลรักษาสุขภาพมากขึน6 รวมทัง6 การใช้ถุงมือยางในการทำกิจกรรมที มีความ เสีย งในการสัมผัสกับเชือ6 โรค

• การฟืFนตัวของอุตสาหกรรมที5ต้องใช้ถุงมือยางในกระบวนการผลิต เช่น อุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป ซึง มีแนวโน้มฟื6นตัวขึน6 จากปี 2552 ส่งผลให้ ความต้องการถุงมือยางเพื อใช้ในอุตสาหกรรมเหล่านี6กลับมาขยายตัวตาม

ถุงยางคุมกำเนิด : ยังเติบโตต่อเนื5อง

• การตื5นตัวในการคุมกำเนิดและการป้องกันโรคจากเพศสัมพันธ์ ทำให้ความต้องการ ใช้ถุงยางคุมกำเนิดมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื อง (จำนวนผู้ติดเชื6อเอดส์ทัว โลก ปี 2551 สูงถึง 33.4 ล้านคน ราวร้อยละ 0.05 ของจำนวนประชากรโลก)

• กำลังซืFอของผู้บริโภคสหรัฐฯ (ตลาดส่งออกถุงยางคุมกำเนิดสำคัญของไทย) เร5ิมฟืFน ตัว (หลังจากในปี 2552 ที เศรษฐกิจสหรัฐฯ ต้องเผชิญภาวะวิกฤตอย่างรุนแรง ทัง6 นี6 ยอดการใช้จ่ายเพื อการอุปโภคบริโภคทีแ ท้จริง เดือนกุมภาพันธ์ 2553 ขยายตัวร้อยละ 0.3 และขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที 5 สะท้อนกำลังซือ6 ของผู้บริโภคสหรัฐฯ เรม ิ ฟื6นตัวอีกครัง

ปัจจัยบั่นทอน

• ต้นทุนการผลิตสูงขึFนจากราคายางพารา ในปี 2553 ราคายางพารามีแนวโน้มปรับตัว สูงขึน6 ซึง คาดว่าราคาเฉลีย ทัง6ปีจะสูงกว่า 90-100 บาทต่อกิโลกรัม เทียบกับ 60 บาทต่อ กิโลกรมั ในปี 2552 ส่งผลให้ต้นทุนวตั ถุดิบการผลิตถุงมือยางและถุงยางคุมกำเนิดมีแนวโน้มสูงขึนตาม

• เงินบาทในปี 2553 มีแนวโน้มแข็งค่าขึนF จากปี 2552 ขณะที เงินสกุลประเทศคแู่ ข่งสำคัญ ทัง6มาเลเซียและจีนมีทิศทางแข็งค่าน้อยกว่าไทย ทำให้ไทยเสียเปรียบในการแข่งขันด้าน ราคา

• ปัจจุบนั หลายโรงงานเรม5ิ หนั มาผลิตถงุมือยางทใ5ี ช้วตั ถดุ ิบชนิดอน5ื แทนยางธรรมชาติ เช่น ถุงมือยางไนไตร (Nitrile Glove) ทีใ ช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเป็นวัตถุดิบในการผลิต เพื อลด ปัญหาการแพ้สารโปรตีนในถุงมือจากยางธรรมชาติลง หรือการใช้ยางสังเคราะห์ซึง มีราคา ตํ ากว่ายางธรรมชาติในการผลิตถุงมือยาง ทำให้ต้นทุนการผลิตถุงมือยางจากยางสงัเคราะห์ตํ ากว่า
ด้วย

• ประเทศคู่ค้าของไทยหลายประเทศเข้มงวดมากขึนF กับกฎระเบียบการควบคุม คุณภาพการผลิต เช่น สหรัฐฯ และ EU ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ยางของไทยต้องเผชิญกับ มาตรฐานทีส ูงขึน

ราคาส่งออกเฉลี5ย : ราคาถุงมือยางค่อนข้างคงที5 ขณะที5ราคาถุงยางคุมกำเนิดมี แนวโน้มลดลง


ราคาส่งออกถุงมือยางและถุงยางคุมกำเนิด

สถานการณ์และแนวโน้ม : ถุงมือยาง และถุงยางคุมกำเนิด

มูลค่าส่งออกถงุมือยาง และถงุยางคุมกำเนิด



สถานการณ์ส่งออกครึ5งแรกปี 2553 : ขยายตัวสูง

มูลค่าส่งออกถุงมือยางและถุงยางคุมกำเนิดในช่วงครึ งแรกของปี 2553 ขยายตัวสูงถึง ร้อยละ 53.6 และร้อยละ 13.7 ตามลำดับ มีสาเหตุสำคัญจากการฟื6นตัวของอุตสาหกรรมทีต ้อง ใช้ถุงมือยางในกระบวนการผลิต อาทิ อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงแนวโน้มการให้ความสำคัญกับการรักษาสุขอนามัยทั6งในภาคอุตสาหกรรมและภาค ครัวเรือน ขณะทีค วามต้องการใช้ถุงยางคุมกำเนิดก็เพม ิ สูงขึน6 ตามจำนวนประชากรโลก ตลอดจน การตื นตัวในการให้ความสำคัญกับการคุมกำเนิด รวมถึงการป้องกันโรคทีเ กิดจากเพศสัมพันธ์

มีข้อน่าสังเกตว่า แม้เศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะซบเซา แต่ด้วยถุงมือยางจัดเป็นของใช้ จำเป็นทางการแพทย์ ความต้องการใช้จึงไม่ผันผวนตามกำลังซื6อของผู้บริโภคมากนัก อีกทัง6 การแพร่ระบาดของโรคระบาดสายพันธุ์ใหม่ อาทิ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ไข้หวัดนก และโรค SARS ทำให้ผู้บริโภคทัว โลกตื นตัวมากขึน6 ต่อการป้องกันโรคระบาดต่างๆ ดังจะเห็น ได้จากอัตราการใช้กำลังการผลิตของโรงงานถุงมือยางอยู่ในระดับค่อนข้างคงที หรือมี เสถียรภาพสูง แม้ในปี 2552 ทีเ ศรษฐกิจตกตํ าอย่างมาก

อัตราการใช้กำลังการผลิตของโรงงานถุงมือยาง